MahaChamnan
มหาชำนาญ ชวนปญฺโญ
จะออกอากาศทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย อุตรดิตถ์ 96.75
ต้นฉบับออกอากาศ ๒๕๕๘
๑ รายวิทยุ เล่ม ๓๑
ขอเจริญพร ท่านผู้รับฟัง อาทิตย์ ที่ ๒๘ มิถุนายน ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ มีเนื้อความในธรรมบท ภาค ๗ ว่า ในสมัยต้นปฐมโพธิกาล ไม่มีวันพระ ไม่มีการแสดงธรรมจากพระสาวก เหล่าพุทธสานิกชน ทำบุญแล้ว ก็ไปฟังธรรมที่อื่น ไม่มีการเข้าพรรษา เป็นเหตุให้พระเจ้าพิมพิสาร ทูลขอให้พุทธองค์ทรงอนุญาต ให้มีวันพระ ให้เหล่าพุทธบริษัท ๔ แสดงธรรมได้ ตามกำลังสติปัญญา ฯ
ณ บัดนี้ ถึงเวลา รายการธรรมะ ของวัดพระแทนศิลาอาสน์ ฯ เป็นการชี้แจงธรรมะในเรื่องของความหมายศัพท์
๑ ก่อนที่จะนำท่าน ผู้รับฟัง เข้าสู่เนื้อความ เกิดความสนใจ ในความหมาย ของศัพท์ธรรมะ ที่ได้ยินได้ฟังบ่อย ๆ แต่ไม่เข้าใจ เข้าใจ แต่ไม่จริง จึงไม่สามารถ นำออกมา แสดงได้ ในวันนี้ ขอโอกาสท่านผู้ฟัง
คำว่า ปฏิสัมภิทามรรค ปฏิสมฺภิทานํ มคฺโค –ปฎิสมฺภิทามคฺโค แปลว่า ทางแห่งปฏิสมฺภิทา ท. ปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาหรือความรู้ ที่แตกฉาน ทั้ง ๔ ประการ คือ
ลาว.(๑)อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาที่แตกฉานในอรรถ หมายถึง ความรู้ ที่สามารถ ๆ กำหนดลักษณะเฉพาะ และความหมาย ของผล ประเภทต่าง ๆ คือ รู้แจ้งชัด ในความหมาย เห็น(ข้อธรรม)ปริศนา หรือความย่อ ก็สามารถ อธิบายื ขยายออกไปได้ โดยพิสดาร หรือเห็นเหตุ เห็นภาพ ก็สามารถอธิบาย ให้เชื่อมโยง ไปหาผลได้ ฯ บ่.แมน.เห็นไปคนละทาง สองทาง ตาเขียวเด๊อะ หมู่เจ๋า ?
(๒)ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญา ที่แตกฉานในธรรม หมายถึง ความรู้ที่สามารถ กำหนดความหมายของเหตุประเภทต่าง ๆ คือรู้แจ้งชัดในหลักธรรม ๆ มาจาก ธร ธาตุ สภาวะที่ทรงไว้ ซึ่งสัตว์ ท. ไม่ให้ตกไปสู่โลกของความชั่วช้าเลวทราม เห็นอรรถาธิบาย ที่พิสดาร ก็สามารถ จับใจความ มาตั้ง เป็นหัวข้อได้ หรือเห็นผล ก็สามารถ สาวไปถึง เหตุได้ ฯ
(๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญา ที่แตกฉาน ในนิรุตติ หมายถึงความรู้ ที่สามารถกำหนดความหมาย ของโวหาร แห่งภาษา ประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวถึงอรรถ และธรรม คือรู้แจ้งชัด ในภาษาธรรม รู้ศัพท์บัญญัติ และภาษาต่าง ๆ สามารถ ใช้คำพูด ชี้แจงอรรถ และธรรม ให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ ฯ
ล้อ..เป้า.. (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาที่แตกฉานในปฏิภาณ หมายถึง ความรู้ที่สามารถกำหนดความหมาย ของปฏิภาณ ประเภทต่าง ๆ คือรู้แจ้งชัด ในปฏิสัมภิทา ทั้ง ๓ หรือรู้แจ้งชัด ในความคิด ทันการ สามารถนำความรู้ ที่มีอยู่ มาปรับใช้ ประโยชน อย่างเหมาะสม สามารถพากษ์ให้ผู้ฟัง เข้าใจคล้อยตาม และตื่นเต้น ตามจังหวะอารมณ์ได้
อุปมา นักพากษ์ ยามแข่งเรือ ออกพรรษา พอได้ยินเสียงสัญญาณ ปล่อยเรือ มาแล้ว ๆ น้ำแตกกระจายเลย ผู้คนมองตาม จังหวะอารมณ์ สักพักหนึ่ง เพ่ ๆ โน้นครับ รถยางแตก มองไปเห็น งัดแม่แรง ใต้ท้องรถ มันน่าเจริญพร สักป๊าบ อ้าย รถ เก่า ๆ เนี้ย ฯ
น.๑๐ เย็ญ. ( ข้อ ๑) ต่อไป ขอให้ท่าน ผู้รับฟัง ใช้วิปัสสนาปัญญา พิจารณาค้นหา ในภายใน ตัวของท่านเอง กาย ในกายธรรม เวทนา ในเวทนาธรรม จิต ในจิต ธรรม ที่มีอยู่ในธรรม ฯ ธรรมนั้นคือ วิมุตตายตนะ ๕ เหตุแห่งวิมุตติ คือ ความหลุดพ้น ๕ ประการ
ส่ง..เป้า.. คือ ๑ ฟังการแสดงธรรม ที่เป็นไปเพื่อผู้อื่น แต่กลับไปเกิด ประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเอง เช่น พระสารี ฯ สมัยที่ท่าน บรรลุโสดาปัตติมรรคแล้ว ต่อมา ได้ฟังธรรม ที่พระสัมมา ฯ แสดง แก่ทีฆนขปริพพาชก ผู้ที่เป็นหลานชายของตนเอง จึงทำ ให้จิตหลุดพ้น บรรลุ ความเป็นแห่งพระอรหัต ฯ
เป้า.....ภาษาน้ำปาด ..(๒)แสดงธรรม ตามที่ตน ได้สดับมา เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล แก่คนเหล่าอื่น ฯ เช่น นางขุชชุตตรา เป็นคนใช้ของ นางสามาวดี ยักยอก เงินค่าดอกไม้ ครึ่งหนึ่ง เอาไปบูชาธรรมพระสัมม ฯ จนตนเอง บรรลุถึง กระแสธรรม เป็นพระโสดาบัน พอบรรลุแล้ว จึงมุ่งปฏิบัติ ลืมไปว่า ต้องยักยอกเงินซื้อดอกไม้ ฯ ก็เลยโดนเรียกเข้ามาสอบสวนดู ว่า ทำไมดอกไม้ จึงได้มากกว่าครั้งก่อน ๆ จึงได้บอกความจริง ฯ แล้วต่อไป (ท่าน รับตำแหน่งไปวัด ฟังธรรม) ให้เจ๊า . ไปวัด ฟังเทสน์เด๊อ. ดูลีฬาท่าทาง ให้ละม้ายคล้ายคลึ่งที่สุด แล้วนำกลับมาแสดง ให้พวกเราฟัง ตามที่ตนเองได้ฟัง ได้เห็นมา เพราะว่าในพระราชวัง มีกติกา การเข้า –ออก ฯ
นางก็ชี้แจง ว่า มีแทนสูงพอประมาณ ปูลาดอาสนะแบบนี้ มีพัดวางอยู่ด้านข้าง แล้ววันนี้แสดงธรรมเรื่องนี้ ฯ สมัยโน้น ไม่น่าจะมีโยมโหล พอถึงเวลา โหล ๆ ๑ ๒ ๓ ว่าเอาเอง ฯ
(๓) ทำการสาธยายธรรมตามที่สดับมา เช่น การเขียนหัวข้อความสำคัญ ๆ ติดไว้ตามต้นไม้ มีเกียบทุกที่ ฯ
(๔) หมั่นตรึกถึงธรรม ตามที่ได้สดับมา ด้วยใจ นี้แหละ เป็นความหมายของ คำว่า ปลีกวิเวก วิเวก คือที่สงัดเงียบ จากสิ่งรบกวน รูป เสียง ฯ ลฯ ต้องทำบ่อย ๆ ฯ แล้วจะเกิด
(๕)อารมณ์ สุขุม เยือกเย็ญ เกื้อกูล แก่กรรมฐาน มีกสิณและอสุภะเป็นต้น ฯ แล้วจะทำให้เกิดผล คือ (รายละเอียดเล่ม ๑๑ ข้อ ๓๒๒/๓๒๓-๓๒๔)
น.๑๑ เชิงอรรถ) นิททสนวัตถุ ๗ เหตุที่ทำ ให้เป็นผู้ ไม่เกิด ใหม่อีก หมดโง่แล้ว จะกลับมารู้อีกทำไม เช่น เป็นเพราะงาน ที่ค้างคาอยู่ จิตดวงที่สั่งงานไว้ ต้องดับ เพราะเป็นวาระของจิตดวงอื่น เมื่อมีเหตุ ให้นึกถึงได้ จิตต้องกลับมาเกิดที่เก่าอีก เหมือนวิญญาณจะ จุติเคลื่อนจากไปอยู่แล้ว เช่น นายจิรวาสี ลูกชายจิตตคฤหบดี ป่วยหนัก พ่อไปนิมนต์พระมาสวดต่อนาม ๆ หมายถึงจิต โยมปล่อยว่างได้มัย เป็นห่วงอะไร รึ. เป็นห่วงพ่อ แล้วต้องตายมัย ? ในเมื่อตาย ทำไม ไม่ห่วง ศีล ทาน ได้สติ วิญญาณ จุติ ไปปฏิสนธิในภพใหม่ ทันที ที่พระกลับถึงวัด จิตตคฤหบดี ก็ตามมาติด ๆ ถึงว่า มหาชำนาญ สวดต่ออายุ ให้ใคร ตายแหง๊ะ แก๊ เลย ฯ
เหตุที่ทำให้ไม่ต้อง เวียนกลับมาเกิดอีก ต้อง ประกอบ ด้วยธรรม ๗ ประการ คือ
(๑) เป็นผู้มีฉันทะแรงกล้า ในการสมาทานสิกขา ทั้งยังไม่หมด ความรัก ในการสมาทาน สิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ต่อ ๆ ไป ฯ ฟังธรรมแล้ว ยังอยากจะฟังอีก ฯ
(๒)-ในการไตร่ตรองถึงธรรม ทั้งยังไม่หมดความรัก ในการไตร่ตรองถึงธรรม ต่อ ๆ ไปอีก ฯ
(๓)-ในการกำจัดความอยาก ทั้งยังไม่หมดความรัก ในการกำจัดความอยาก ต่อไป ฯ
(๔) –ในการหลีกเร้น ทั้งยังไม่หมดความรัก ในการหลีกเร้น จากอารมณ์ ฟุ้งซ่าน ต่อไป ฯ
(๕) –ในการบำเพ็ญเพียร ทั้งยังไม่หมดความรัก ในการบำเพ็ญเพียร ต่อไป ฯ
(๖) –ในสติและปัญญา เครื่องรักษาตัว ทั้งยังไม่หมดความรัก ในสติและปัญญา เครื่องรักษาตัว ต่อไป ฯ
ล้อ.เป้า. (๗)-ในการแทงตลอด(ซึ่งทิฏฐิ) ทั้งยังไม่หมดความรักในการแทงตลอดทิฏฐิต่อไป หมายถึง รู้เห็น ชี้ขาดหลักทิฏฐิ ให้มันหมด ไปเลย แล้วจะได้เลื่อกว่า จะเอา หรือจะทิ้ง ๆ ก็ทิ้งให้ขาดเอาไปเผาเลย อย่าให้ต้องโง่ ไปถึงชาติหน้า กลายเป็นคนประเภทที่ รู้ ฉัน ก็รู้ ว่า ฉันโง่ แต่ท่านไม่ต้องมาสอน ฯไป๊ ๆ มันน่า จะให้ไปเกิดใหม่ ? (รายละเอียด เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๓๑ ๓๔๕ ๓๔๖
ต่อไป ทำให้เกิด อภิภายตนะ (อายตนะ คือเหตุ ครอบงำ หมายถึง ญาณที่เกิด) แก่ผู้ บำเพ็ญ ฌาน ซึ่งสามารถครอบงำ(ปัจจนีกธรรม)สิ่ง ที่เป็น ปฏิปักษ์คือนิวรณ์ ๕ และอารมณ์ ท. ได้แก่ ฌาน (รายละเอียด เล่ม ๑๑ ข้อ ๑๗๓ ๑๕๑ ๑๕๔
น.๑๑ เชิงอรรถ ฌาน จะครอบงำ นิชชรวัตถุ ๑๐ หมายถึง เหตุ แห่งความเสื่อม เหตุแห่งอกุศลธรรมมีมิจฉาทิฏฐิเป็นต้น ๑๐ ประการ ได้แก่อริยมรรค รวมกับ สัมมาญาณ และสัมมาวิมุตติ ฯ (รายละเอียด เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๖๐ ๔๔๘ ๔๕๐
ฟังยาก. น.๑๔ (ข้อ ๗) ครอบงำถึง อายตนะ คำว่า อายตนะ หมายถึงอวัยวะ เครื่องต่อ รับรู้ อารมณ์ของจิต จำแนกเป็น ๒ ฝ่าย ตามความ สัมพันธ์กัน คือ ภายใน กับภายนอก ฝ่ายละ ๖ รวมเป็น ๑๒ ภายใน ๖ ตา หู ฯลฯ ภายนอก ๖ รูป เสียง ฯลฯ เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ฯ ได้ยิน ก็สักแต่ว่าได้ยิน ฯ ไม่ทำให้เกิดเวทนา วิญญาณ ไม่เกิด ฯ ไม่ต้องพูดไปถึง ๑๒ หร็อก ฯ เอาแค่นี้ ฯ
วิญญาณ ความที่จิต รับรู้ อารมณ์ เกิดจากสัมผัสคือกระทบหรือประจวบกัน ๖ ทาง คือ (๑)จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา คือ ตา รูป (จักขุ)วิญญาณ รับรู้อารมณ์ กระทบกัน บางที ไม่รู้ก็มี เพราะวิญญาณไม่เกิด ฯ (๒) โสตสัมผัส สัมผัสทางหู คือ เสียง หู วิญญาณ รับรู้ ฯ เอาแค่ ตา กับหู ต้องเกิดทั้ง ๓ จึงทำให้เกิดเวทนาขึ้น
น.๑๒ เชิงอรรถ พระท่านสวด ลาว.. ว่า วิปากาธัมมา วิปากธัมมธัมมา ฮ๊วย ๆ ๆ ไผ้ สวยผี ,, เวทนา ในที่นี้ ได้แก่ วิปากเวทนา คือ เวทนา ที่เป็นผล อันเนื่อง มาจากสัมผัสสะ และเป็นปัจจัย แห่งตัณหา ในทวาร ๖ หมายถึง ความที่จิต รู้สึก ต่ออารมณ์ เมื่อตาเห็นรูป จึงได้เกิด สัญญา
น.๑๓ เชิงอรรถ สัญญา ๆ ความกำหนดหมาย เอาอารมณ์ ๖ คือ รูปสัญญา ความกำหนดหมายรู้รูป จึงได้เกิด สัญเจตนา ความจงใจ ในรูป รูปสัญเจตนา ฯ จึงได้มีตัณหา
น.๑๓ เชิงอรรถ ตัณหา ความทะยานอยาก อยากไม่เข้าท่า เข้าทาง รูปตัณหา อารมณ์ทางรูปหรือสิ่งที่จิตนึกคิดไปทางรูป ฯ
ลาว.. ส่วนคำว่า ธาตุ สิ่งทรงสภาวะของตน อยู่เอง ตามที่เหตุปัจจัย ปรุงแต่งขึ้น ให้เป็นไป ตามธรรมนิยาม อันเป็นกฎกำหนด แห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร่าง ผู้บันดาล ไม่มีรูปลักษณะ ไม่มีกิจ ไม่มีอาการเสแสร้ง มีแต่แบบอย่าง จำเพาะตัว อันพึง กำหนดเอา เป็นหลักได้ แต่ละอย่าง ในที่นี้ ท่านกล่าว หมายถึงธาตุ จำนวน ๑๘ คือ
๑ จักขุธาตุ ธาตถุคือจักษุประสาท, ๒ รูปธาตุ ธาตุคือรูปารมณ์(รูป), ๓ จักขุวิญญาณธาติ ธาตุคือจักขุวิญญาณ ตามเหตุปัจจัย ปรุงแต่งขึ้น แล้วบังคับให้เป็นไป ตามธรรมนิยาม
๔ โสตธาตุ ธาตุคือโสตประสาท ๕ สัททธาตุ ธาตุคือสัททารมณ์(เสียง), ๖ โสตวิญญาณธาตุ ธาตุคือโสตวิญญาณ ฯ ๑ หมวดมี ๓ จึงได้เกิด ?
น.๑๕ เชิงอรรถ. คำว่า อินทรีย์ หมายถึง สิ่งที่เป็นใหญ่ เป็นเจ้าการ ในการทำกิจของตน เช่น ตา เป็นใหญ่ หรือเป็นเจ้าการ ในการเห็น เป็นต้น หรือหมายถึง คุณธรรม ที่เป็นใหญ่ ในหน้าที่ของตน แล้วกระทำให้ธรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นไปตามตนเอง ในกิจนั้น ๆ ในที่นี้ กล่าวหมายรวม อินทรีย์ทั้งหมด จำนวน ๒๒ คือ
ตีความใหม่ ....๑ จักขุนทรีย์ ตา เป็นใหญ่เป็นเจ้าการในเห็นรูป คือจักขุประสาท
ล้อ. เพลง.. ๒ โสตินทรีย์ หู เป็นใหญ๋ในการทำให้ธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามโสตประสาท นั้น ๆ ในขณะที่โสตอินทรีย์ มีพละกำลังดำเนินไปอยู่ ฯเอ๋ย ๆ ฟังสั่งการ สะกดให้ ทุกส่วนของร่างกาย หยุด ๆ หูกำลังทำหน้าที่ เป็นใหญ่ แววสำเนียง เอียงหู ก็รู้ว่านาง ฯ
ตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ ชีวิต อิตถีอินทรีย์ฯ
ล้อ. อิตถินทรีย์ อินทรีย์คือความเป็นหญิง ความเป็นหญิง คือความอ่อนช้อยแห่งอากัปปกิริยา มือ เท้า สรีระร่างกาย และวจีไพรเราะอ่อนหวาน ไม่ใช่ฮ๊า ๆ ๆ นั้นมันกระทิงแล้ว
ปุริสินทรีย์ อินทรีย์คือความเป็นชาย ความแข็งทรงพลัง แห่งอากัปกิริยา มือ เท้า สรีรร่างกาย และน้ำเสียงที่ทรงพลังมีอำนาจ แล้วกระทำให้ธรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับความเป็นชาย เป็นไปตามสภาวะ ในกิจนั้น ๆ ฯ เอาแค่นี้ ฟังมากเดียวไม่รู้เรื่อง ฯ
น.๑๖ (ข้อ ๙) คราวนี้ คำว่า ฌาน หมายถึง ภาวะจิต ที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ และสามารถข่มกิเลส คือนิวรณ์ ๕ ได้ แยกตาม การเพ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
อารัมมณูปนิชฌาน การเพ่งอารมณ์ เช่นกสิณเป็นต้น ได้แก่สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และลักขณูปนิชฌาน ฯ
การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล ในที่นี้ หมายถึงอารัมมณูปนิชฌาน ฯ เฉพาะ รูปฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ฌานขั้นที่ ๑ มีองค์ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุขและเอกัคคตา ฯ ฌาน ขั้นที่ ๒ มีองค์ ๓ ปีติ สุข และเอกัคคตา ฯ
ตติยฌาน ขั้นที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุขและเอกัคคตา ฯ จตุตถฌาน ฌานขั้นที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ สุขและอุเบกขา ฯ
ตอนปรินิพพาน พระสัมมา ฯ ก็นิพพาน ในฌาน ๔ นอนตาย ธรรมดา ๆ นี้แหละ ไม่ได้เหาะเหินเดินอากาศนิพพานอะไร หร๊อก นั่น เป็นพระอานนท์แล้ว แต่ท่านก็มีเหตุผล ที่ต้องนิพพานแบบนั้น เพราะกลัวว่า โยมจะน้อยใจ จะนิพพาน ระหว่างแดน ทั้ง ๒ ฯ
ฟังยาก.. น.๑๗ ฌาน จะมีคู่กับ สมาบัติ เรียกว่า ฌานสมาบัติ สมาบัติแปลว่า ภาวะ ที่พระอริยบุคคล ท. พึงเข้าถึงได้ หมายถึง คุณวิเศษ เป็นที่ อันบุคคล เข้าถึง ธรรมวิเศษที่ควรเข้าถึง การบรรลุขั้นสูง ที่ควรถึง คือ การเข้าถึง รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ซึ่งเรียกรวมว่า สมาบัติ ๘ จะกล่าวเฉพาะ อรูปสมาบัติ ๔ คือ เพราะฟังแล้ว คล้ายว่า จะสูงมาก
๑ อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฌานสมาบัติ ที่กำหนดอากาส ๆ ในที่กล่าวนี้ คือช่องว่าง ๆ ปล่อยวาง อารมณ์ ได้รับ สัมผัสเบาสบาย อันหาที่สุดไม่ได้ เป็นอารมณ์ฯ
๒ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฌานสมาบัติที่กำหนดวิญญาณ ๆ ในที่กล่าวนี้ คือสภาพจิต ๆ ของเรานี้ รับรู้ อารมณ์ ทางอายตนะ ๖ ไม่มีที่สิ้นสุด อันหาที่สุดไม่ได้ เป็นอารมณ์ ฯ
๓ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นอารมณ์ทางใจ เป็นฌาน ที่กำหนดภาวะ สิ่งที่จิตนึกคิด ได้แก่สิ่งที่เป็น นามธรรม ต่าง ๆ ที่มีจิต คิดปรุ่งแต่ง เป็นแดนเกิด ความคิด ที่ได้สัมผัส กับอารมณ์กระทบ กระทั่ง ก็บอกว่า ที่ไม่มีอะไร ไม่เป็นอะไร ไร้สาระ ปล่อยวาง อารมณ์ ไม่มี ความยึดถือ หรือมีแต่ความว่าง จากปฏิฆะ จากอารมณ์ที่กระทบกระทั่ง แค่เนี้ย ไม่ได้ บันดาลอะไร หร๊อก ?
๔ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฌานสมาบัติ ที่เข้าถึงภาวะ มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หมายความว่า ไม่มีสัญญาคือความจำได้ กำหนดหมาย รู้ รูป เสียง ฯลฯ เลยรึ. ก็บอกไม่ได้ เพราะยังมีอยู่ ไม่ใช่ว่า จะไม่มีเลย แต่เป็นการ กำหนดหมาย อย่างละเอียด ฯ
ฟังคำศัพท์ธรรม รูปฌานสมาบัติ อรูปฌานสมาบัติ ฟังแล้วคล้าย ๆ กับว่า เป็นฌานสมาบัติ ของเหล่าฤษี ชีไพร ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร ? ไม่ใช่ฌาน ลุยไฟ พ้นน้ำมัน ?
ตรวจสอบ ซ้ำกันหรือ เปล่าเลย .. เพราะเรา ไม่เข้าใจ ความหมาย ศัพท์ธรรม แต่ความจริง หลายต่อหลายคน ปฏิบัติได้ผลเกินมากกว่านี้
เนื้อความธรรมะทั้งหมดนี้ ได้นำมาจากพระไตรปิฏก เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๒๒
สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาค้นคว้าก็สามารถศึกษาได้จากพระไตรปิฏกทั้งฉบับคอม ฯ และฉบับบันทึกเป็นอักษร ฯ
ขอกราบขอบพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระวินัยสาทร เจ้าอาวาสวัดพระแทนศิลาอาสน์ที่ได้เอื้อเฟื้อ ถวายเวลา และอีกส่วนหนึ่ง ก็เป็นเวลาที่ทางสถานีวิทยุ อสมท. ก็ได้จัดเวลาถวายให้ตามสมควร ฯ สำหรับรายการธรรมะในวันนี้ ได้หมดเวลาลงแล้ว ฯ ขอให้ท่านผู้ฟังจงโชคดี ฯ
๒ รายวิทยุ เล่ม ๓๑
ก่อนที่จะนำท่านเข้าสู่เนื้อความในเล่มที่ ๓๑ เกิดความสนใจในความหมายของศัพท์ธรรมะ ที่ได้ยินได้ฟังบ่อย ๆ แต่ไม่เข้าใจ เข้าใจแต่ไม่สามารถนำออกมาแสดงได้ ในวันนี้ เจอคำพยากรณ์แล้ว คือ สุตมยญาณ นิทเทส แสดงญาณความรูอันสำเร็จมาแต่การฟัง จึงขอโอกาสท่านผู้ฟัง เข้าสู่รายการ
น.๒๔ (๓๐) เชิงอรรถ. โพชฌงค์ สภาพแห่งธรรมที่ควรกำหนดจดจำยึดถือเอาไว้ นั้นควรรู้ยิ่ง สภาพแห่งธรรมที่เป็นบริวารอุดหนุนตามส่ง ให้เกิดสภาพแห่งธรรมที่เต็มรอบแล้ว จะมีผลเป็นสภาพแห่งสมาธิ ที่มีอารมณ์แน่วแน่นิ่งอยู่อย่างเดียว เป็นปัจจัยสภาพแห่งสมาธิที่ไม่มีความฟุ้งซ่านแห่งสมถะที่ควรรู้ยิ่ง แล้วต้องรู้เห็นแจ่งสภาพแห่งธรรมที่ประคับประคอง ไม่ให้กระจายไปจัดเป็นวิปัสสนา จะกลายเป็นสภาพที่จิตไม่ขุ่นมัว ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นอยุ่ด้วยสามารถแห่งความปรากฏแห่งจิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว แล้วผู้ปฏิบัติควรรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่เป็นอารมณ์ เป็นที่โคจร แล้วกำหนดตรวจตาดูสภาพแห่งธรรมคัดกรองแยกแยะละสละทิ้งไป แล้วส่งจิตต่อไปถึงธรรมที่ละเอี่ยดประณีต ที่หลุดพ้นแห่งธรรมที่มีเครื่องข้าม นำจิตส่งไปอีก ถึงสภาพแห่งธรรมที่ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีที่ตั้ง ว่างเปล่า แล้วเรามีจิตเสมอ ไม่ล่วงเลยกัน เป็นสภาพแห่งธรรมที่เป็นอธิบดี จัดเป็นสมถะและวิปัสสนา ที่ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ แล้วจะนำให้ผลติดต่อกันไปอีก คือ
น.๒๕ (ข้อ ๓๑) อินทรีย์ คำว่า อินทรีย์ หมายถึง สิ่งที่เป็นใหญ่ เป็นเจ้าการ หรือหมายถึงคุณธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ทำให้ธรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นไปตามตนในกิจนั้น ๆ ในขณะที่เป็นไปอยู่นั้น คือ ศรัทธา มีสภาพที่น้อมนำหน้าไปก่อน แล้วจะมีวิริยะเป็นสภาพที่ประคับประคองไว้ มีสติเป็นสภาพที่ตั้งมั่น พอสติตั้งมั่นแล้วจะเกิดสภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธิ พอมีสมาธิแล้วจะเกิดปัญญา เป็นสภาพที่เห็นจริง เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ทุกอย่าง ฯ ในเมื่ออินทรีย์เหล่านี้ เกิดขึ้นแล้ว จะส่งผลให้เกิดพละกำลังตามมา คือ
น.๒๕ (ข้อ ๓๓) พละกำลังแห่งศรัทธา ที่ไม่ได้หวั่นไหวเพราะจิตตุปบาท อันเป็นข้าศึกแก่ศรัทธา ควรรู้ยิ่ง แล้วกำลังแห่ง(วิริยะ)ความพรากเพียร ที่ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านจะเกิดอุดหนุน พอกำลังศรัทธากับวิริยะเกิดแล้ว จะส่งผลให้กำลังแห่งสติเกิดไม่มีความหวั่นไหวเพราะความประมาท ในเมื่อจิตดำเนิมาถูกทางแล้ว กำลังแห่งสมาธิ ที่เห็นความเป็นจริงนั้น จะไม่หวั่นไหวเพราะ(อุทธัจจะ)ความฟุ้งซ่าน และปัญญาพละ จะไม่มีความหวั่นไหว เพราะอวิชชา ทุกอย่างควรกำหนดรู้ยิ่ง ฯ ท่านผู้ปฏิบัติ ทุกท่าน จะเข้าใจสภาวะเหล่านี้ เป็นเพียงแต่ไม่รู้จักชื่อ ท่านเรียกว่าอย่างไร เท่านั้น ฯ
น.๒๖ (ข้อ ๓๔) คุณธรรมที่ท่านมีท่านได้ยังไม่หมดแค่นี้ นั้นก็คือ สัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ หมายถึงองค์แห่งธรรมสามัคคี ๗ ประการ มีสติ เป็นต้น อันเป็นปฏิปักษ์ สภาพที่นำออกจากอุปัทวกิเลส ท. คือ จากความท้อแท้ ความฟุ้งซ่าน จากกามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค สัสสตทิฏฐิ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้น ในขณะแห่งโลกิยะมรรคหรือโลกุตตรมรรค ยอ่มเป็นเหตุให้อริยสาวกตรัสรู้คือตื่นจากการหลับเพราะกิเลสเหล่านั้น มี ๗ ประการ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือ ความระลึกได้ ๒. พอมีสติแล้วจะเกิดการหยั่บยั้งปิดกั้นกระแสต่าง ๆ ที่จะไหลผ่านเข้ามาทางอายตนะ พอกั้นไว้แล้ว ก็จะเกิดสภาพที่เลือกเฟ้น องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ คือการสอดส่องถึงธรรม ที่หยับยั่งดำรงอยู่ว่า เป็นธรรมฝ่ายดำ หรือขาว ๓ พอปัญญามองเห็นแล้ว ส่งผลให้เกิดสภาพที่ประคับประคอง วิริยสัมโพชฌงค์ องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความพรากเพียรมองเห็นทางที่จะเกิดปัญญา ๔ ให้ผลติดต่อกันไม่ขาดระยะ ต่อไป จะเกิดสภาพที่แผ่ซ่านไปแห่ง ปีติสัมโพชฌงค์ องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความอิ่มใจกับคุณธรรมที่ดำรงอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม แล้วทั้งกาย เวทนา จิต ธรรม จะเกิด สภาพที่สงบ๕ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความสงบ พอสงบแล้ว จะส่งผลให้เกิดสภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน ๖ สมาธิสัมโพชฌงค์ องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความตั้งใจมั่น พอได้เสวยความประชุมลงแห่งความสุข ท.แล้ว จะเกิดสภาพที่พิจารณาหาทางแห่ง ๗ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความวางเฉย (รายละเอียด เล่ม ๑๑ /๓๓๐/๓๔๓ฯ เล่ม ๑๙/๑๘๒-๓๖๖ฯ ๑๑๙-๒๒๔
น.๒๖ (ข้อ ๓๕) ยิ่งมรรคมีองค์ ๘ รวมทุกอย่าง ไม่แค่มรรค ทุกอย่างเป็นสภาพที่รู้แจ้งเห็นจริงแห่งสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ในเมื่อมีความเห็นชอบเห็นดีเห็นงามแล้ว จะเกิดสภาพที่ตรึกหนักแน่นแห่งสัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ในเมื่อเห็นดี คิดดีแล้ว จะเกิดสภาพ ๆ ที่กำหนดตรวจตราแห่งสัมมาวาจา การเจรจาชอบ การรู้จักเจรจา จะสิ่งผลมีสภาพที่ประชุม หรือสภาพที่แผ่ไปแห่งสัมมากัมมันตะ การกระทำชอบหรือการงาน เมื่อพูดดีทำดี สภาพที่ผ่องแผ้ว หรือสภาพที่ไหลมาแห่งสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ ปัญหาชีวิตก็จะไม่อุปสัคขัดข้อง แล้วจะเกิดสภาพที่ประคับประคองไว้ แห่งสัมมาวายาะ ความพยายามชอบ ในเมื่อเป็นความดีความงาม แล้วจะเกิดสภาพที่เป็นอมตะ คือความตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ ความระลึกชอบ ๆ จะส่งสภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ หรือสภาพที่อามรณ์เดียวตั้งจิตมั่นไว้ชอบ เกิดขึ้น ฯ สภาพที่คำนึง สภาพที่รู้แจ้ง สภาพที่รู้ชัด สภาพที่จำได้ สภาพที่เป็นสมาธิ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ฯ สิ่งเหล่านี้ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ ในเมื่อรู้ยิ่งสิ่งเหล่านี้แล้ว
น.๒๗ (ข้อ ๓๖) จะเกิด สติปัฏฐาน หมายถึงธรรมเป็นที่ตั้งมั่นแห่งสติ ๔ ประการ คือ ๑ พิจารณาเห็นกายในกาย กายภายในหยั่งงัย ก็ต้องใสสะอาด ๒ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา หัวเราะสดใสร่าเริ่ง ไม่ใสใจถึงเวทนาภายนอก, ๓ พิจารณาเห็นจิตในจิต จิตภายนอกโดนมากขนาดนี้ แต่จิตภายในกำจัดอภิชฌาและโทมนัส สงบนิ่ง ๔ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ธรรมดำคุ้งมัวหมองตะลบไปทั้วบริเวณภายใน แต่ธรรมภายในขาวสะอาด สงบเย็กเย็ญ ฯ (รายละเอียด เล่ม ๑๐/๓๗๒-๔๐๕)
น.๒๗ แล้วจะเกิดสภาพเริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน ความเพียรชอบ ๔ ประการคือ ๑ ทำความพอใจให้เกิด พยายามปรารภความเพียรภาวนา ประคับประคอบจิตไว้ ริเริ่มตั้งความเพียรภาวนาทางจิตเพื่อยังอกุศล(ธรรม)จิต ที่เลวทรามซึ่งยังไม่เกิด ก็อย่าให้มันเกิดขึ้นต่อไปอีก ฯ
๒ ทำความพอใจให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรภาวนา ประคับประครองจิตไว้ เริ่มตั้งความเพียรภาวนา เพื่อละอกุศล(ธรรม)จิตอันเลวทราม ซึ่งมันได้เกิดขึ้นมาแล้ว ต่อไปพยามยามอย่าให้มันเกิดขึ้นมาอีก ฯ
๓ ในเมื่อห้ามอกุศล(ธรรม)จิตแล้ว ทำความพอใจให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรภาวนา ประคับประคองจิตไว้ เริ่มตั้งความเพียรเพื่อยังกุศลธรรม หรือกุศลภาวนา ซึ่งยังไม่เคยเกิด ก็พยายามทำให้เกิดมี
๔ ถ้าเกิดมีแล้ว ก็ทำความพอใจให้เกิด พยายามปรารภจิตภาวนา ประคับประคองจิตไว้ เริ่มตั้งความเพียรเพื่อความตั้งมั่น ไม่ให้เลื่อนหาย เพื่อความมียิ่ง ๆขึ้น จนเจริญไพบูลย์แห่งกุศล(ธรรม)จิตที่เกิดขึ้นมาแล้ว (รายละเอียด เล่ม ๑๙/๖๕๑-๗๐๔)
น.๒๗ จะมีสภาพความสำเร็จ คือ อิทธิบาท ๆ หมายถึง ธรรมเป็นบาทคือฐานรองรับฤทธิ์คือความสำเร็จ ๔ ประการคือ
๑ เจริญ(อิทธิบาท)จิตภาวนาอันเป็นฐานรองรับฤทธิ์ ด้วย(ฉันทสมาธิ)สมาธิที่มีความพอใจเป็นเครื่องอุดหนุนและจิตสังขารที่เป็นแดน หรือที่ตั้งที่เกิดแห่งความเพียรภาวนา ฯ
๒ เจริญ(อิทธิบาทธรรม) จิตภาวนาอันเป็นฐานแห่งความสำเร็จด้วย(วิริยสมาธิและปธานสังขาร)สมาธิที่มีความความเพียรพยายามอันจะเป็นเหตุให้ปรากฏขึ้น และปธานสังขาร คือจิตสังขารอันเป็นตัวความเพียร แห่งความสำเร็จฤทธิ์
๓ เจริญ(อิทธิบาท) จิตภาวนา(ธรรม) อันเป็นฐานความสำเร็จฤทธิ ด้วย(จิตตสมาธิและปธานสังขาร)สมาธิที่มีจิตเป็นหนึ่งเดียวเกิดขึ้น และสังขารจิตที่เป็นตัวความเพียร ฯ
๔ เจริญ(อิทธิบาท) จิตภาวนา(ธรรม) อันเป็นฐานรองรับฤทธิ์ อันประกอบด้วย(วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร)สมาธิปัญญาตรึกตรองใครครวญ เค้าคลึงอารมณ์กรรมฐานที่เกิดขึ้น ฯ (รายละเอียด เล่ม ๑๙/๘๑๓-๘๙๘
น.๒๗ แล้วจะเกิดสภาพที่เที่ยงแท้เป็นอมตะแห่งอริยสัจจะ ๔ ฯ เกิดพร้อมกับสภาพที่ระงับแห่ง(ประโยค )คุณธรรมเครื่องประกอบ และสภาพที่ทำให้แจ่มแจ้ง หมายถึง (อริยมรรค ๔ อริยผล ๔) มรรค ๔ ผล ๔ ฯ
น.๒๘(ข้อ ๓๗)สภาพที่รู้แห่งปัญญา(ญาตปริญญา) ความกำหนดรู้ ด้วยการรู้ ให้เป็นสิ่งที่รู้มาแล้ว พอรู้แล้ว ให้เกิดสภาพที่กำหนดรู้แล้วพิจารณา(ปริญญา) รู้ให้เป็นสิ่งที่รู้ รู้แล้วให้พิจารณา ๆ แล้ว ให้เกิดสภาพที่สละปฏิปักขธรรมแห่ง(ปหานะ)ความกำหนดรู้ด้วยการละ ต้องเพียงอย่างเดียว จึงจะเกิดสภาพที่มีกิจหรือหน้าที่เป็นอย่างเดียวแห่งจิตภาวนา มีจิตภาวนาแล้ว จะเกิดสภาวะที่ถูกต้องสัมผัสแห่ง(สัจฉิกิริยา)การทำให้แจ่มแจ้ง ให้เห็นสภาพที่เป็นกองแห่งขันธ์ ๕ รูป เวทนา ฯลฯ
ให้เห็นสภาพที่ทรงไว้แห่งธาตุ ส่วนคำว่า ธาตุ หมายถึง สิ่งทรงสภาวะของตนอยู่เอง
ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ให้เป็นไปตามธรรมนิยาม คือกฎกำหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร่าง ผู้บันดาล ไม่มีกิจ ไม่มีหน้า ไม่มีรูปลักษณะ ไม่มีกิจ คำว่า ธาตุ เป็นสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ ไม่มีอาการที่วางไว้เป็นแบบอย่างจำเพาะตัว อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่าง ในที่นี้ ท่านกล่าวหมายถึงธาตุ จำนวน ๑๘ คือ
๑ จักขุธาตุ (ธาตุ) กฎกำหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร่าง ผู้บันดาล ไม่มีรูปลักษณะ ไม่มีอาการที่วางไว้เป็นแบบอย่างจำเพาะตัว คือ จักษุประสาท ๆ เห็นไม่ต้องเห็น ฟังไม่สนใจ ก็เหมือนไม่ฟัง เหม็น แต่ทำความรู้สึกว่า ไม่ปฏิกูล มันก็ไม่เหม็น เพราะนั้นคือธาตุ , ๒ รูปธาตุ ธาตุ สิ่งทรงสภาวะของตน ไม่มีกิจ ไม่มีหน้า คือ สี เสียง กลิ่น รส ได้แก่ รูปารมณ์(รูป) นี้ฉันเป็นสีน่ะ คุณต้องเห็น ฉันเป็นเสียงน่ะ คุณต้องได้ยิน , ๓ จักขุวิญญาณธาตุ สิ่งที่เป็นไปตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ให้เป็นไปตามธรรมนิยาม คือจักขุวิญญาณ มี สี เสียง กลิ่น ถ้าวิญญาณเกิด ตา กับรูป จะเป็นไปตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ตัวอุปาทาน ยึดมั่น จะพาตัณหา ความอยากให้เป็นไปตามธรรมนิยามของสิ่งนั้น ธาตุ คือกฎกำหนดแห่งธรรมดา ถ้าเข้าสมาสแล้วเป็นจักขุธาตุ ก็กลายเป็นกฏกำหนดแห่งธรรมดาของจักษุ ตัวธาตุเฉย ๆ ไม่มีอะไร ถ้าไม่การปรุงแต่ง ไม่มีอุปทาน ไม่มีตัณหา ก็จะไม่เกิดสัมผัสฯ ไล่ไปตามอายตนะ ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ หมวดละ ๓ ๓ คูณ ๑๖ เท่ากับ ๑๘ จึงกลายเป็นธาตุ ๑๘
๔ โสตธาตุ ธาตุคือโสตประสาท ๕ สัททธาตุ ธาตุคือสัททารมณ์(เสียง), ๖ โสตวิญญาณธาตุ ธาตุคือโสตวิญญาณ ฯ
๗ ฆานธาตุ ธาตุคือฆานประสาท ๘ คันธธาตุ ธาตถุคือคันธารมณ์(กลิ่น) ๙ ฆานวิญญาณธาติ ธาตุคือฆานวิญญาณ ฯ
๑๐ ชิวหาธาตุ ธาตคุคือ ชิวหาประสาท ๑๑ รสธาตุ ธาตุคือรสารมณ์(รส) ๑๒ ชิวหาวิญญาณธาตุ ธาตุคือชิวหาวิญญาณ ฯ
๑๓กายธาตุ ธาตุคือกายประสาท ๑๔ โผฏฐัพพธาตุ ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ (สัมผัสทางกาย)ฯ ๑๕ กายวิญญาณธาตุ ธาตุคือกายวิญญาณ ฯ
๑๖ มโนธาตุ ธาตุคือมโน(จิต) ๑๗ ธัมมธาตุ ธาตุคือธรรมารมณ์ ๑๘ มโนวิญญาณธาตุ ธาตุคือมโนวิญญาณ
น.๒๘ ให้เห็นสภาพที่ต่ออารมณ์แห่งอายตนะ ๖ คือ ตา หู ฯลฯ พอต่อแล้ว ก็จะรู้จะเห็นจริงว่า สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่ง(สังขตธรรม) หรือที่เกิดมาจากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นโลกิยะ ซึ่งเหมาะเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา, พอวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้ว จะกลายเป็นอสังขตธรรม ธรรมอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง หรือที่ไม่ได้เกิดจากปัจจัย ได้แก่นิพพาน ฯ
สิ่งเหล่านี้ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง คือ สภาพแห่งจิตไม่มีระหว่าง สภาพที่ออกไปแห่งจิต สภาพที่หลีกไปแห่งจิต สภาพที่เป็นเหตุปัจจัยแห่งจิต สภาพที่ตั้งมั่น เป็นภูมิ เป็นอารมณ์ เป็นโคจร เป็นที่เที่ยวไป สภาพที่นำไปยิ่ง สภาพที่จำออก สภาพที่สลัดทิ้งอารมณ์ แห่งจิต
น.๒๘ (๓๙) สภาพที่นึกในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่รู้แจ้ง จำได้ ที่จิตมั่นคง ต่อเนื่อง ผ่องใส มองเห็นว่า นี่ละเอียด นี่เป็นสภาพที่ตั้งขึ้นอย่างต่อเนื่อง สภาพที่อบรม ปรารภชอบ สภาพที่กำหนดถือไว้ สภาพที่เป็นบริวาร เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้
เนื้อความธรรมะทั้งหมดนี้ ได้นำมาจากพระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ ข้อที่๓๐ ถึง ๓๙ ฯ สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาค้นคว้า ก็สามารถศึกษาได้จากพระไตรปิฏก ทั้งฉบับคอม ฯ และฉบับบันทึกเป็นอักษร ฯ สำหรับรายการธรรมะในวันนี้ ได้หมดเวลาลงแล้ว ขอให้ท่านผู้ฟังจงโชคดี ฯ
๓ รายวิทยุ เล่ม ๓๑
ออกรายการ อ.ส.ม.ท. คลื่นความถี่ 97.5
อาทิตย์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘
นำท่านเข้าสู่เนื้อความในเล่มที่ ๓๑ ข้อ ๔๐ เป็นเส้นทางที่ทุกผู้ทุกคน ลงมือปฏิบัติ แล้ว ได้ผลเสมอกัน ฯ
ไม่เอา..(น.๒๔๘(ข้อ๓๘๘) คำว่า ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีอธิบายดังนี้ คำว่า เฉพาะ (ปริ) มีอรรถว่า การกำหนดถือเอา คำว่า หน้า(มุขํ) มีอรรถว่า ความนำออก คำว่า สติ มีอรรถว่า ความเข้าไปตั้งไว้)
ซัด ๆ. น.๒๙ (ข้อ ๔๐) ผู้ปฏิบัติ สมควรรู้อย่างยิ่ง ทุกอย่างก็คือ สภาพที่ อริยมรรค ให้ความสว่าง รุ่งเรื่อง ให้กิเลสเร่าร้อน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
น.๒๙(๔๑) สภาพที่เป็นมูล ความสำเร็จ เป็นที่น้อมไป แห่งฉันทะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ วิริยะ(แห่งความเพียร) จิตตะ(แห่งความใส่ใจ) วิมังสา(แห่งความไตร่ตรอง) เหล่านี้ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
แข็ง.. น.๓๐ (ข้อ ๔๖) ในเมื่อรู้จักรศรัทธา รู้ปัจจัยปรุงแต่งศรัทธาแล้ว สภาพที่ธรรมอีก ๔ อย่างที่เหลือ เป็นไปตามศรัทธา ควรรู้ ฯ ควรกำหนดรู้ ถึงสภาพที่ อาจจะนำผลมาได้ คือ
เป้า. ล้อ..น.๓๑ (ข้อ ๔๗) ๑.เนกขัมมะ การสลัดออกจากกามคุณ คือ รูป เสียง ๆ ถ้าไม่กำหนดรู้ (แววสำเนียงเอียงหู ก็รู้ว่า นาง (ฮึ๊. ว่าเอาเอง.. สภาพที่อาจจะนำผลมาให้ คือ.พระสึกหมด) ฯ ๒.(อัพยาบาท)ได้ผลไปแล้ว สัพเพ สัตตา สัตว์ ท. ที่เป็นเพื่อนทุกข์ อย่าได้มีความอาฆาตพยาบาทซึ่งกันและกันเลย ปลงซ่ะ ไม่ปลงจะเสียใจ แบบติ๊กซีโร ว่า ฯ ๓. (อาโลกสัญญา) ความกำหนดหมายแสงสว่าง ไม่ฟุ้งซ่านทางปัญญา ฯ ๔ การกำหนดธรรมในธรรม เลือกเฟ้นธรรมในธรรม รู้จักรกามคุณ มัย. ฯ ก็ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
น.๓๑ (ข้อ ๔๘) อันนี้เรียกว่า ญาณกถา กถาว่าด้วยญาณความรู้ เมื่อญาณอันนี้เกิดขึ้นแล้ว
สูง,เน้น.. น.๓๑ (ข้อ ๒๙) เห็นทางแล้ว (โสดาปัตติมรรค) ปิดทางที่อารมณ์หลั่งไหลเข้ามาทางอายตนะ ๖ ตา หู ฯลฯ ใช้ปัญญาเลื่อกเฟ้นทาง ที่เห็น ที่ฟังมา ฯ
หยุดเน้น..น.๓๑ (ข้อ ๕๐) เมื่อ(รู้มรรคผล)มองเห็นแล้ว อินทรีย์ ๕ สัทธาอินทรีย์ ด้วยความหมายว่า (มีการน้อมไปแห่งศรัทธาเป็นใหญ่)เกิดศรัทธา ส่วน วิริยอินทรีย์ มีความหมายว่า ประคองศรัทธาไว้ พอประคองไว้แล้ว ก็จะเกิดมี สติอินทรีย์ ทำอย่างไงก็ชั่งขอให้ศรัทธาเกิดความตั้งมั่นให้ได้ ในเมื่อตั้งมั่นได้แล้ว ก็จะทำให้จิตใจหมดความฟุ้งซ่าน แล้วจะเกิดผลว่า ปัญญาอินทรีย์ ข้าเห็นแล้ว ฯ
เมื่อเห็นแล้ว ก็จะเกิด พละ ๕ ๆ มีความหมายว่า มีพละกำลังไม่หวั่นไหว(สัทธาพละ) เพราะความไม่มีศรัทธา (วิริยะ) ในเมื่อมีศรัทธา ก็จะไม่มีหวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน นานแสนนานแล้ว อยากนัก อยากหนา ที่เราจะได้พบโอกาสนี้ สติพละ แล้วจะเกิดไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท สมาธิพละ ไม่หวั่นไหวเพราะจิตใจหมดความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละ ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา อย่ามาหลอกให้ข้าเสียตังส์ ฯ
เป้า.ซัด ๆ ฟังอยาก. น.๓๒ (ข้อ ๕๑) พอเกิดพละแล้ว สติสัมโพชฌงค์ องค์แห่งสามัคคีธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ ด้วยความหมายว่า ตั้งมั่น จะตามมา แล้วต่อไปจะเกิด ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ การเลือกเฟ้นถึงธรรมในธรรม ด้วยความหมายว่า นำออกไป ธรรมอันนี้นึกใครครวญแล้วจะเกิดธรรมอะไรขึ้น เลือกเฟ้นออกไป แล้วหาความตั้งมั่นในความตั้งมั่น ที่ตั้งมั่นอย่างนี้ เกิดจากความตั้งมั่นในอะไร ฯ ๓. วิริยสัมโพชงฌ์ ระคับประคองให้จิตใจเสวย อยู่ในทางนั้น นาน ๆ ฯ ๔ แล้วจะเกิด ปีติสัมโพชงฌ์ ความสุขกาย จิตก็เบาสบาย ฯ ๕ แล้วต่อไป จะเกิด ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สุขที่เกิดจากจิตใจที่นิ่งสงบ ในเมื่อนิ่งสงบแล้ว ฯ ๖ สมาธิสัมโพชงฌ์ จิตจะได้เสวยผลปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความไม่ฟุ้งซ่านฯ พอไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ๗ อุเบกขาสัมโพชงค์ ด้วยความหมายว่า นิ่งวางเฉย พิจารณาหาทาง ฯ ทุกอย่างควรรู้ยิ่ง ฯ นี้แหละ คือ สิ่งควรรู้ยิ่ง ฯ
น.๓๒ (ข้อ ๕๒) ในเมื่อเห็นแล้ว จะเกิดมรรค ด้วยความหมายว่า เป็นเหตุ ๆ นี้ มีองค์ ๘ ขึ้น คือ ๑ สัมมาทิฏฐิ ด้วยความหมายว่า เห็นแล้ว ฯ ๒ สัมมาสังกัปปะ ตอนนี้กำลัง(ตรึก)อินกับบทอยู่ (ด้วยความหมายว่าจดจ่อ)ฯ ๓ (สัมมาวาจา ด้วยความหมายว่า) กำหนดเอาแน่แล้ว ฯ ๔ (จะเกิด สัมมากัมมันตะ ด้วยความหมายว่า) ให้กุศลธรรมเกิด เป็นสาระสำคัญ ขึ้น ฯ ๕ (สัมมาอาชีวะ ด้วยความหมายว่า กุศลเกิดขึ้นแล้ว) ขาวผ่อง ฯ ๖ (สัมมาวายามะ) ประคับประคองนิมิตหมายไว้ให้ดี ๆ ฯ ๗ สัมมาสติ ตั้งมั่น ฯ ๘ สัมมาสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน ฯ นี้แหละ คือ ทุก ๆ อย่างควรรู้ให้ยิ่ง
น.๓๓ (ข้อ ๕๖) ปัญญา รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้ว ว่า ธรรมเหล่านี้ ควรกำหนดรู้ ? ที่ควรกำหนดรู้. ๆ เป็นอย่างไร ?
ธรรม ๑ อย่าง ควรกำหนดรู้ คือ สัมผัสอันมีอาสวะกิเลส ๆ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฯ ธรรม ๒ ควรกำหนดรู้ คือ ๑ นาม ๒ รูป ฯ (รายละเอียด น.๑๗ ข้อ ๙
ไม่เอา.(ธรรม ๓ คือ เวทนา ๓ ฟังยาก..? ๑ สุขวเทนา ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข ๒ ทุกขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ ๓ อทุกขมสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่ส
เล่น. เร็ว.ช้า.ลาว จังหวะ.หยุด. เป้า.ลีฬา. ธรรม ๔ คือ อาหาร ๔ อาหารในที่นี้ หมายถึง ปัจจัยที่เป็นเหตุนำมาซึ่งผลของตน คือเป็นเหตุให้เกิดผลนั้น ๆ มี ๔ คือ ๑ กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ได้แก่ โอชารส ทึ่เป็นเหตุให้เกิด(โอชัฏฐมกรูป) รูปกายชนิดต่าง ๆ ที่มี(โอชา)ความร้อนผร่า ซาบซ่าน ไปทั่วสรรพางกาย แบบ สารวัณ เดินหน้า ๆ สารวัณ เดินหน้าหน่อยสารวัณเอ๊ย เป็นที่ ๘ , ๒ ผัสสาหาร อาหารคือสัมผัสสะ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดเวทนา ๓ เดินหน้า ถอยหลัง มันซักจะเตี้ยลง ๆ เกิดทุกขเวทนา เป็นเหตุให้เกิดผล เมื่อไร จะถึงบ้านสักที ส่งผลให้เกิด, ๓ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ความจงใจในการทำกรรม หรือกุศลเจตนา และอกุศลเจตนา ที่เป็นโลกิยะ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอยู่ในภพๆก็มันเป็นจั๊งซี๊ ลุกไม่ไหวแล้ว สารวัณเอ๊ยฯ ๔วิญญาณา
หาร ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙ ที่เป็นเหตุให้นามรูป แสดงอิริยาบถ ๔ ยืนโงนเงน มันเป็นซะง๊อ ซะแง๊ะ มันเป็นงึก ๆ งั๊ก มันเป็นบ่คึก บ่คั๊ก แบบป้อยฝ้ายว่า ฯ นี้แหละ คือปัจจัย ที่เป็นเหตุนำมาซึ่งผลของตน ควรกำหนดรู้ให้ดี ฯ
(ยาก..ธรรม ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ กองแห่งความยึดมั่น หมายถึงกลุ่มธรรมหรือหมวดธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งความยึดมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ยังมีธรรม ๖ คืออายตนะ ๖ ฟังมาบ่อย ฯ
ธรรม ๗ เหล่านี้ ควรกำหนดรู้ วิญญาณฐิติ ๗ ตายแล้ววิญญาณไปเกิดที่ไหน ฯ)
ย้าย..เป้า. วิญญาณฐิติ หมายถึง ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ เหตุแห่งวิญญาณไปปฏิสนธิ หรือขันธ์ที่มีวิญญาณครอง ซึ่งเป็นการจัดแยกประเภทของสัตว์ต่าง ๆ ที่มีอัตภาพร่างกายเหมือนกัน แต่มีสัญญา เป็นเหตุปัจจัยให้เสวยผลอารมณ์ คนละอย่างกัน ฯ ที่มีอัตภาพร่างกายแตกต่างกัน มีสัญญา ให้เป็นเหตุรับสื่ออายตนะ ตา หู ฯลฯ แตกต่างกัน อย่างเช่น แมลงวันใช้อายตนะรับสื่อกับของปฏิกูล ผึ่ง ใช้อายตนะรับสื่อกับสิ่งสะอาดผุดผ่อง ที่มีกลิ่นหอม ฯ มีอัตภาพร่างกายแตกต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดี่ยวกัน คือ พวกสัตว์นรก จะใช้อายตนะรับสื่ออย่างเดียวกัน คือความทุกข์ทรมาน สัตว์ที่ทำกรรมไว้ นิมิตก่อนตาย จะมองเห็นเป็นเปลวเพลิงนรกอเวจี แต่เปลวเพลิงนั้น ก็เป็นสื่อให้ชอบใจ นำจิตมุ่งไปก่อน ฯ
เป้า.อุ....น.๗๒ ข้อ ๕๔ ท่านเปรียบด้วยเมล็ดพันธ์พื่ช ๆ ถ้าขาดดินกับน้ำ ก็ไม่เจริญงอกงาม ฯ วิญญาณฐิติ) ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ มี ๔ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร ฯ เปรียบเหมือนธาตุดิน ฯ กิเลสที่ร้อนแรง เป็นเสมือนเครื่องย้อมใจ ฯ เกิดความเพลิดเพลินสนุกสนาน เป็นเสมือนธาตุน้ำ ฯ (ตัววิญญาณพร้องทั้งอาหาร) กรรมวิญญาณพร้อมด้วยปัจจัย เสมือนเมล็ดพันธ์พืช ฯ พืชถึงจะดีขนาดไหน ถ้าขาด ดินกับน้ำ ก็จะไม่มีความเจริญงอกงาม ฯเหมือนกับวิญญาณ ถ้าขาดวิญญาณฐิติ ๔ อย่าง และราคะเสียแล้ว ก็ไม่มีวันที่จะเจริญงอกงามได้ ฯ
วิญญาณฐิติ มี ๗ ตามรายละเอียด เล่ม ๑๑ ข้อ๓๓๒/๓๔๗-๓๔๘ ว่า พวกที่ ๑ พวกมนุษย์ พวกสัตว์เดรัจฉาน เทวดาบางพวก ในกามาวจรสวรรค์ ๖ คือ ชั้นจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นินมารดี ปรนิมมิตวสวัตดี
พวกวินิปาติกะบางพวก วินิปาติกะ แปลว่า ผู้อันกรรมให้ตกลงไปเสวยสุขไม่เต็มที่ พอลงไปแม้มันสุขเพลิดเพลิน เสวยอย่างเต็มที่ พอหมดเวลาแล้วต้องได้รับทุกขทรมาน เจ็บปวดระบมต่าง ๆ นานา เป็นช่วง ๆ สลับกันไป หมายถึงสัตว์พวกหนึ่ง ซึ่งไม่รวมอยู่ในจำพวกสัตว์อบายภูมิ ได้แก่พวกเวมานิกเปรต คือพวกเปรต แม้ถึงจะมีบ้านมีวิมานอยู่ แต่ก็ สุข ๆ ทุกข์ ๆ ไม่รุ่งเรืองเหมือนพวกเทพอื่น ๆ ฯ จัดอยู่ประเภทของสัตว์ ที่มีอัตภาพร่างกายแตกต่างกัน และมีสือสัญญา ชอบใจสือทางอายตนะ ๖ ตา หู ฯลฯ แตกต่างกัน ฯ อันนี้ เป็นวิญญาณฐิติ พวกที่ ๑
พวกที่ ๒ คือ สัตว์บางพวก ไม่ใช่แต่มนุษย์เท่านั้น ที่บำเพ็ญบารมี บำเพ็ญเพียรสมาธิภาวนา จนได้ปฐมฌานแล้ว ตายแล้ว วิญญาณไปเกิดอยู่ในพรหมโลก ชั้นภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ของผู้ที่ได้ปฐมฌาน มี ๓ ชั้นคือ ๑พรหมปาริสัชชา ชั้นพวกที่เป็นบริวารของท้าวมหาพรหม, ๒ พรหมปุโรหิตา ชั้นพวกที่เป็นปุโรหิตของท้าวมหาพรหม , ๓ มหาพรหม ชั้นพวกที่เป็นท้าวมหาพรหมเลย ฯ พรหมทั้ง ๓ ชั้นเหล่านี้ จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ มีอัตภาพร่างกายแตกต่างกัน แต่สัญญา อย่างเดียวกัน ฯอันนี้ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒
พวกที่ ๓ คือ สัตว์บางพวก ที่บำเพ็ญเพียรสมาธิภาวนา จนได้ทุติยฌานแล้ว ตายแล้ว วิญญาณไปเกิดอยู่พรหมโลก ชั้นภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ จนได้ทุติยฌาน (แต่อย่ามาถามน่ะ ว่า คนพูดได้ฌานชั้นไหน บอกเลย ไม่ได้อะไรสักอย่าง วู๊ ..ยังอยู่ห่างม๊าก ๆ) วิญญาณของผู้ได้ทุติยฌาน จะไปอยู่ในภูมิอันเป็นแดนแห่งวิญญาณ ๓ชั้นคือ ๑ ปริตรตาภา ชั้นพวกพรหมที่รัศมีกายน้อย ด้วยอำนาจแห่งวิตกวิจารดับ มีปีติเกิดขึ้นจากสมาธิภาวนาที่กำลังเริ่มจะเป็นไป ฯ๒ อัปปมาณาภา ชั้นพวกพรหม ที่มีรัศมีกายเหลือที่จะประมาณคณานับ ด้วยอำนาจแห่งปีติที่เกิดจากกำลังสมาธิที่เป็นไปเฉียดตติยฌาน ฯ ๓ อาภัสสรา ชั้นพวกพรหม ที่มีรัศมีกายสุกปลั่งแผ่ซ่านไป ด้วยอำนาจปีติที่เกิดขึ้นจากการเข้าไปสัมผัสอารมณ์ในตติยฌาน ฯพรหมทั้ง ๓ ชั้นเหล่านี้ จัดอยู่ประเภทของสัตว์ที่มีอัตภาพร่างกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญา ต่างกัน ฯ อันนี้ เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๓ รายละเอียด มีในเล่ม ๑๑ ข้อ ๓๓๒
พวกที่ ๔ คือ พวกที่สมัยเป็นมนุษย์ ประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญเพียรสมาธิภาวนา จนได้ตติยฌาน เสวยผลอารมณ์แห่งปิติและสุขในภาวนา ตลอดชัวอายุ ฯ ตายแล้ว วิญญาณไปเกิดอยู่ในพรหมโลก ชั้นภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ของผู้ที่ได้ตติยฌาน มี ๓ ชั้นคือ ๑ ปริตตสุภา ชั้นพวกพรหมที่รัศมีกายสวยสดงดงามน้อย ตามกำลังแห่งปีติและสุข ที่ส่งผลให้อารมณ์ เป็น เอกัคคตา อันเกิดขึ้นจากสมาธิ ที่เป็นแดนเกิดแห่งอารมณ์ในจตุตถฌาน ๒ อัปปมาณสุภา ชั้นพวกพรหม ที่มีรัศมีกายสวยสดงดงามเหลือที่จะประมาณคณานับ ตามกำลังแห่งปีติและสุข ที่ส่งผลให้ได้รู้อารมณ์ แห่งความวางเฉยที่เกิดจากอารมณ์ในจตุตถฌาน ฯ ๓ สุภกิณหา ชั้นพวกพรหม ที่มีรัศมีกายสวยสดงดงามสุกปลั่งแผ่ซ่านไป ตามกำลังแห่งปีติ และสุข ที่ส่งผลให้เกิดเอกัคคตา เป็นอารมณ์ที่เฉียด สมาธิภาวนาชั้น จตุตถฌาน ฯ และท่านผู้ที่ได้บรรลุจตุตถฌาน ตายแล้ว วิญญาณ จะไปเกิดอยู่ในพรหมโลกชั้น จตุตถฌาน คือ เวหัปผลา ชั้นพวกที่มีผลเต็มบริบูรณ์ ไพศาล ฯ พรมหทั้ง ๔ ชั้นเหล่า จัดอยู่ในประเภทสัตว์ มีอัตภาพร่างกายอย่างเดียวกัน ทั้งยังมีสัญญา อย่างเดียวกัน ฯ อันนี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๔ ฯ
น.๓๔๘ เล่ม ๑๑ พวกที่ ๕ พวกนี้ ฟังแล้วจะกำหนดได้หรือเปล่าหนอ ? สัตว์พวกหนึ่ง บำเพ็ญสมาธิภาวนา ถึงขั้นล่วงเลย รูปสัญญา
เป้า น.๑๓ เล่ม ๓๑ เชิงอรรถ สัญญา ๆ ความกำหนดหมายเอาอารมณ์ ๖ คือ รูปสัญญา ๆ ความกำหนดหมาย รู้รูป รู้เสียง รู้กลิ่น จึงได้เกิด สัญเจตนา ความจงใจในอารมณ์ ๖ คือ รูปสัญเจตนา ความจงใจในรูป ฯ
เป้า .ข้ามพ้นไปจากการกำหนดรู้ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น รส ฯลฯ เพราะ(ปฏิฆสัญญา)การกำหนดอารมณ์กระทบกระทั่งแห่งจิตดับไปก่อนแล้ว แล้วก็ไม่ใส่ใจถึง(นานัตตสัญญา) การกำหนดหมายรู้รูป ที่ปรากฏเป็นต่าง ๆ นานา รูปจะเน่า จะเหม็น เสียงจะดัง พอสมาธิเกิดชั้นนี้เกิดแล้ว จะเป็นไปอย่างไงก็ชั่ง ? บำเพ็ญจนเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ เป็นสมาธิที่เข้าถึงภาวะที่มองเห็น รูป ว่างเปล่า(มีอากาศ)ไม่มีที่สิ้นสุด อุปมาเหมือน สมาธิเกิดขึ้นแก่หมอที่เรียนวิชาทางการแพทย์ กับสรีระของคนตาย ฯ ตายแล้ว วิญญาณ ไปเกิดในอรูปพรหม เป็นชั้นที่เข้าถึงภาวะมีอากาศ ว่าง โปร่ง โร้ง ทะลุ ทะลวง ไม่มีที่สิ้นสุด ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ของท่านผู้ปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้ มี ๓ ชั้นคือ ๑ อากาสานัญจายตนะ เป็นอรูปพรหมชั้นที่ ๑ ในอรูปพรหม ๔ ฯ เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๕
๒ พวกที่ ๖ มีสัตว์พวกหนึ่ง บำเพ็ญสมาธิล่วงเลย ซึ่งอากาสานัญจายตนะ จนเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ตายแล้ว ไปเกิด เป็นอรูปพรหมชั้นที่ ๒ เป็นชั้นที่เข้าถึงภาวะ ที่มีวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด ฯ เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๖
๓ พวกที่ ๗ มีสัตว์พวกหนึ่ง การบำเพ็ญบารมี ไม่ใช่จะมีเฉพาะแค่มนุษย์ บำเพ็ญเพียรจนล่วงเลยวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปสง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ โดยใส่ใจว่า ไม่มี อะไรเลย ๆ ฯ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗
น.๓๕ (ข้อ ๕๗ )สิ่งทั้งปวง ควรกำหนดรู้ คืออะไร ? คือ จักขุ รูป (จักขุ)วิญญาณ (จักขุ)สัมผัส หู เสียง วิญญาณ สัมผัสฯ เวทนา ๓ อย่าง ที่เกิดขึ้น เพราะ(จักขุ)สัมผัสเป็นปัจจัย ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ให้กำหนดรู้ ไม่ใช่รู้ทั้งหมด ฯ
เนื้อความธรรมะทั้งหมดนี้ ได้นำมาจากพระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ ข้อ ๔๐ สภาพแห่งธรรมที่ควรกำหนดถือเอา ควรรู้ยิ่ง ข้อ ๕๖ ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ข้อ ๖๔ ธรรมเหล่านี้ควรละ ฯ สำหรับท่านที่ต้องศึกษาค้นคว้า ก็สามารถศึกษาค้นคว้าได้จากพระไตรปิฏกทั้งฉบับคอม ฯ และฉบับบันทึกเป็นอักษร ฯ สำหรับรายการธรรมะในวันนี้ได้หมดเวลาลงแล้ว ฯ ขอให้ท่านผู้ฟังจงโชคดี
๔ รายวิทยุ เล่ม ๓๑(ตัวผู้เขียน พอใจ ในสาระสำคัญ)
อาทิตย์ ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ขอเจริญพร ท่านผู้รับฟัง วันนี้ เป็นวันพระแรม ๘ ค่ำเดือน ๖ มีการฟังธรรม ตามที่พระเจ้าพิมพิสาร ได้ทูลขอพร ในสมัยต้นปฐมโพธิกาล ๆ ไม่มีวันพระ ไม่มีการแสดงธรรมจากพระสาวก เหล่าพุทธสานิกชน ทำบุญแล้ว ก็ไปฟังธรรมที่อื่น พระเจ้าพิมพิสาร จึงทูลขอให้พุทธองค์ทรงอนุญาต ให้มีการแสดงธรรมได้ ฯ รายการธรรมะ ของวัดพระแทนศิลาอาสน์ ธรรมะในวันนี้ เป็นการชี้แจงธรรมะในอริยะสัจ ๔
เบา.ปล่อย. น.๓๗ (ข้อ ๖๔) เมื่อควรรู้ยิ่ง เมื่อควรกำหนดรู้ ทุกอย่างแล้ว ต่อไปก็ ธรรมเหล่านี้ ควรละทิ้ง “ เป็นอย่างไร ?
น.๓๘ ธรรม ๑ อย่าง ที่ควรละ คือ อัสมิมานะ การถือตัวในอุปาทานขันธ์ ๕ ฯ
ลาว. เน้น จังหวะ ชัด ๆ .. ธรรม ๒ อย่าง ที่ควรละ คือ ๑ อวิชชา หมายถึง ความประสบพบเจอ แต่สิ่งที่ไม่ควรประสบ มีกายทุจริต เป็นต้น แต่สิ่งที่ควรประสบ พบเจอ มีกายสุจริตเป็นกลับไม่ชอบใจ ทำให้สภาวะ ที่แท้จริงแห่งธรรม ท. ไม่ปรากฏชัด ธรรมชาติ ที่ยังเหล่าสัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอันปราศจากที่สุด
มี๔ อย่าง ตามนัยอภิธรรม คือ ๑ ความไม่รู้ถึงเหตุ . ๆ ที่มีมาแล้วแต่อดีต ๒ ทำไปแล้ว ไม่รู้ถึงผล. ๆ ที่จะมันเกิดขึ้นในอนาคต ๓ ความไม่รู้ว่า ปัจจุบัน ที่เราเป็นอย่างนี้ ผลมันมาจากไหน ๔ ความไม่รู้ถึง(ปฏิจจสมุปบาท) ทุกสิ่งทุกอย่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ฯ ฯ อันนี้เป็นอวิชชาอย่างที่ ๑ ที่ควรละ ฯ ถ้าละไม่ได้ ก็ไปลงนรกเสียเถอะที่รัก ฉันจะลงโทษเธอ มันน่าจะตายให้หมด ๆ ไป ซ่ะ.ฯ
อวิชชา อย่างที่ ๒ คือ ภวตัณหา ความอยากทะเยอะ ทะยานในภาวะที่จะได้เป็น อย่างใด อย่างหนึ่ง หรือติดใจใน(ฌานสมาบัติ)ยศถาบรรดาศักดิ์ พออก พอใจ ชื่นชมในตนเอง ส่งผลให้ ตัวอีโก้ สูง แต่ไอคิวเสีย ไอเดียต่ำ ปัญญานิ่ม คิดเห็นแต่ (ซึ่งประกอบด้วย(สัสสตทิฏฐิ)ความคิดเห็นของตน) ความชอบใจของตนเองเท่านั้นที่ถูกต้อง ฯ นี้เป็นอวิชชา อย่างที่ ๒ ที่ควรละ ฯ
เป้า น.๓๘ ธรรม ๓ อย่างที่ควรละ คือ ตัณหา ๓ ๑กามตัณหา ๒ ภวตัณหา มีอธิบายคล้ายกัน ฯ
๓ วิภวตัณหา ความอยากในการพราก ให้พ้นไปเสียจากตัวตน ให้หนี้จากความเป็นที่ไม่น่าปรารถนาอย่างใด อย่างหนึ่ง อยากทำลาย ให้ดับสูญ ซึ่งประกอบด้วย(อุจเฉททิฏฐิ) การได้พบเห็นคนอื่น มีความสามารถ ขนขวายการทำงาน จนเกิดยศถาบรรดาศักดิ์บ้าง อิจฉาความสำเร็จผู้อื่นที่ตน
ได้พบเจอ จนเกิดความตรมใจ ว่า มันน่าจะมี กับตัวเรา หรือกับคนที่เราชอบอกชอบใจ ผลตามมา กลายเป็นโรคระบาท อหิวาต ลมปากมีพิษปานกับงูเห่า ๆ มาก ๆ จะเกิด กาฬโรค โรคดำมืด อิติว่า ดังนี้ ว่าตามภาษาบาลี จบเนื้อความมีอิติ ปิดประโยค ?
(ฟังอยาก ตีประเด่นธรรม ไม่แตก .. ธรรม ๔ อย่างที่ควรละ คือ โอฆะ ๔ โอฆะ หมายถึง ห้วงแห่งวังวนของกิเลส มี ๔ อย่าง คือ ๑ กามโอฆะ ความยินดีพอใจใน(กามคุณ) รูป เสียง ฯลฯ ทั้ง ๕ อย่าง ฯ
๒ ภวโอฆะ ความยินดีพอใจ ในรูปภพ หรืออรูปภพ และความติดใจในฌาน ฯ ๓ ทิฏฐิโอฆะ – คือทิฏฐิ ๖๒ ประการ ฯ ๔ อวิชชาโอฆะ ความไม่รู้เรื่องในสัจจะความจริงอันประเสริฐ ฯ นี้ คือ ธรรม ๔ อย่างที่ควรละ ฯ )
ธรรม ๕ ที่ควรละ คือ นิวรณ์ ๕ นิวรณ์ หมายถึง กิเลสที่สกัดกั้นไม่ให้จิตบรรลุถึงความดี ๕ อย่างคือ ๑ กามฉันทนิวรณ์ หมายถึง กิเลสที่สกัดกั้นไม่ให้จิตบรรลุถึงความดี คือ ความยินดีพอใจรักใคร่ใน(กาม)รูป เสียง ฯลฯ ฯ กามคุณ มีอยู่ทุกหย่อมหญ้าของกิเลสบ้า ๆ สกัดกั้น ไม่ให้ทั้งคน ทั้งจิตบรรลุความดี ก็ กามคุณ ๕ มาน.. เปนตัวร๊าย.ย.ก๋าจ
เป้า..๒ พยาปาทนิวรณ์ ความพยาบาท ฯ ความอาฆาตพยาบาท เป็นตัวทำลายสุขภาพจิต ทำให้จิตฟุ้งซ่าน ไปแสวงหาอารมณ์ เน่า ๆ ที่ผ่านมาแล้ว ออกจากเรื่องนี้ ก็ไปหาเรื่องอื่นอีก ถ้าความอาฆาตพยาบาทมีกำลังมาก ก็แส่หาเรื่องต่าง ๆ นานา จนกำหนดไม่ได้ว่า นี้มันกี่โมงกี่ยามกันแล้ว แล้วยังมีการส่งผลไปถึงอนาคต ให้เกิดความลังเลสงสัย ให้คนอื่นเป็นคนไม่ดี ทั้ง ๆ ที่คนอื่นยังไม่ทันได้รู้เรื่องอะไรเลย แต่กิเลสบ้า ตัดสินไปแล้ว ฯ กิเลสตัวนี้แหละ เป็นตัวที่ ๓ (ถีนมิทธ ทำให้หดหู่ มืดมัว ฯ กิเลส แค่นี้ ยังแรงน้อยถอยกำลัง ตัวที่ ๔ ( อุทธัจจกุกกุจจ)ส่งกำลังเสริม ให้ฟุ้งซ่าน ไปหาเรื่องเก่า ๆ มา สร้างความ รำคาญ ฯ เรื่องเน่าๆ ที่ผ่านมา ได้โอกาส ส่งกิเลสตัวที่ ๕ (วิจิกิจฉา) ไม่ปรักใจเชื่อ ทำให้เราเสียโอกาส ที่จะได้พบเจอกับสิ่งที่สมปรารถนา ฯ (รายละเอียด เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๑๕/๓๑๑ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ ควรละ ฯ
น.๓๘ ธรรม ๖ ควรละ คือ หมวดตัณหา ๖ คือ ความหิวกระหายในรูป เสียง ฯลฯ ธัมมารมณ์ ความหิวกระหายในธรรมารมณ์ หรือสิ่งที่ใจนึกคิด ฯ
ธรรม ๗ ที่ควรละ คืออนุสัย กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน ๗ อย่างคือ ๑ กามราคานุสัย กิเลสที่มีสภาพนอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในกาม ท. ๆ คราวอยาก มันก็มีความสุข พอผ่านไป เกิดทุกข์ อยากฟัง พอให้ฟัง สักพัก มันจะเกิดทุกข์ มองหาสิ่งอื่น เจอสิ่งอื่น ก็หมกมุ่นอยู่กับสิ่งนั้น สักพัก ก็เกิดทุกข์ มองหาสิ่งอื่นอีก ฆ่าฉันให้ตายเสียยังดีกว่า ถ้าไม่ตาย ก็ต้องเกิดทุกข์
๒ ปฏิฆานุสัย กิเลสที่มีสภาพนอนเนื่องในสันดานคือความกระทบกระทั่งแห่งจิต ฯ
๓ ทิฏฐานุสัย คือความเห็นผิดชอบดู ชอบฟัง ชอบกลิ่น ที่ไม่ดี แต่อยากได้แต่ของดี ๆ ฯ ๔ วิจิกิจฉานุสัย –คือความไม่ปรักใจเชื่อ ลังเลสังสัย พอแนะนำให้ดู ให้ฟัง สิ่งที่ดีมีประโยชน์ ไม่สนใจ ไม่มีศรัทธาฯ ๕ มานานุสัย - คือความเหย่อหยิ่งจองหองกระด้างถือดี ส่งผลให้เป็น ห้ามไม่ได้ สอนไม่ฟัง ฯ ๖ ภวราคานุสัย – (คือกำหนัดยินดีในความที่ตนเองได้มี ได้เป็น)ภูมิอก ภูมิใจ กับราคะกิเลส ที่ตนเองได้ ตนเองมี ฯ ๗ อวิชชานุสัย – คือการไม่รู้จักความจริง ว่าเป็นของประเสริฐ หลงใหลไปตามกระแส ชีวิต จึงพบแต่ความมืด เดียวก็เป็นอย่างที่เพลงมันร้อง บอกว่า อกหักครานั้น ยับเยิอ ๆ ฯ นี้คือธรรม ๗ ประการที่ควรละ ฯ
แล้วจะเกิดเส้นทางเดิน ผิด ๆ ๘ เส้นทาง ที่ควรละทิ้ง คือ มิจฉัตตะ ๆ สภาวะที่ผิดหรือธรรมที่ไม่ถูกต้อง ๘ ตามหลักอธิบายมรรคมีองค์ ๘ ฟังกันอยู่บ่อย ๆ ฯ คือ ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๒ มิจฉาสังกัปปะ ความดำริผิด ๓ มิจฉาวาจา การเจรจาผิด ๔ มิจฉากัมมันตะ การกระทำผิด ๕ มิจฉาอาชีวะ การเลี้ยงชีพผิด ๖ มิจฉาวายามะ ความพยายามผิด ๗ มิจฉาสติ ความระลึกผิด ๘ มิจฉาสมาธิ ความตั้งใจมั่นผิด ฯ ธรรม ๘ ประการ ที่ควรละ ฯ) อ้าว ขออีกหัวข้อสุดท้าย
ธรรม ๙ ที่ควรละ คือ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ คือ ๑ เพราะอาศัยกิเลสตัณหา จึงเกิดการแสวงหาผลประโยชน์ ๒ เพราะอาศัยการแสวงหาผลประโยชน์ จึงเกิดมี(ลาภ)ความละโมบ ไม่รู้จักดีชั้ว ๓ เพราะ(ลาภ)ความละโมบ ไม่รู้จักดี ชั้วเป็นมูลเหตุ จึงเกิดการ(ใคร่ครวญ)ฉวยโอกาส ๔ เพราะอาศัยการ(ใคร่ครวญ)ฉวยโอกาส จึงเกิดความรักใคร่พออกพอใจ
๕ เพราะความรักใคร่พออกพอใจเป็นมูลเหตุ จึงเกิดการ(ตกลงใจ)ตัดสินใจ ๖ เพราะอาศัยการ(ตกลงใจ)ตัดสินใจ จึงเกิดความยึดมั่น ๗ เพราะมีความยึดมั่นเป็นมูลเหตุ จึงเกิดความตระหนี่ ๘ เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงเกิด การป้องกัน ๙ เพราะการป้องกันเป็นมูลเหตุ อกุศลธรรม อันชั่วช้ามากมาย คือ การถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาท การพูดว่า มึง ๆ กู ๆ การพูดจาส่อเสียด และการพูดเท็จย่อมเกิดขึ้น ฯ เหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม ๙ ประการ ที่ควรละ ฯ
น.๔๑ (ข้อ ๖๗) ธรรมเหล่านี้ ควรเจริญ” ชื่อว่า สุตมยปัญญา เป็นอย่างไร ?
ธรรมอย่างหนึ่ง ที่ควรเจริญ คือ กายคตาสติ หมายถึงสติอันกำหนดพิจารณาเห็นกายโดยแยกส่วนต่าง ๆ เป็นของไม่งาม มี ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น, กายคตาสติ ชั้น รูปฌานที่ ๓ ๆ ที่เกิดร่วมกับสุขเวทนา อันน่ายินดี ฯ อันนี้คือ ธรรม ๑ อย่างที่ควรเจริญ ฯ
ธรรม ๒ อย่าง ที่ควรเจริญ คือ สมถะ กับ วิปัสสนา ฯ
ต่อไป เป็นธรรมะขยายความ ของวิญญาณฐิติ ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ๗ ชั้น จากอาทิตย์ ครั้งที่แล้วมา เป็นวิญญาณาของท่าน ผู้ไปเกิดในพรหมโลก
ธรรม ๓ อย่าง ที่ควรเจริญ คือ สมาธิ ๓ คือ ๑ สวิตักกสวิจารสมาธิ สมาธิ ที่มีองค์ธรรมทั้ง(วิตก)การตรึงจิตไว้กับการภาวนา จนจิตนิ่งสงบและ(วิจาร)การใคร่ครวญถึงอารมณ์ ที่นิ่งเบาสบาย ซึ่งได้แก่ ขณิกสมาธิ สมาธิที่เกิดขึ้นสัมผัสได้ชั่วขณะเดียวนั้น ฯ
วิปัสสนาสมาธิ สมาธิที่เกิดขึ้นในขณะที่มีสติ(วิปัสสนา)พิจารณาเห็นแจ้ง ซึ่งการสัมผัสกับวิสภาคารมณ์ ภายนอก อันเกิดขึ้นในขณะที่จิตหยับหยั่ง อารมณ์นั้นได้ ฯ เป็นอุปจารสมาธิ ขั้นปฐมฌาน ฯ
เป้าหมาย....๒ อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ เป็นสมาธิ (ที่ไม่มีองค์ธรรม คือวิตก) ที่ไม่ต้องนึกภาวนา มีแต่เพียงองค์ธรรม คือการติดตาม ใคร่ครวญอารมณ์ ที่นิ่งเบาสบาย ฯ
เป้า..เหมือนกับนก ปฐมฤกษ์ ที่จะบินขึ้นไปบนอากาศ จะมีอาการไหวกระเพื่อม ทุกส่วน พอบินขึ้น ถึงชั้นบรรยากาศ เบาสบายแล้ว ก็จะหมดความพยายาม กระเพื่อปีก ราปีก ให้กินลมบินไป ในเมื่อเพดาลบิน ต่ำลง ก็จะกระพือปีก ให้กินลม แล้วราปีกไปอีก ฯ
ถ้ายังไม่เข้าใจเอาอีกก็ได้ เปรียบเสมือนกับเหล็กแหลม ที่ปรักอยู่ตรงกลาง.แป้นหมุน ของช่างปั่นหม้อ เปรียบกับสมาธิขั้นปฐมฌาน ที่มีทั้งวิตกและวิจาร, พอแป้นหมุน .จนช่างขึ้นเป็นรูป.เสร็จเรียบร้อยแล้ว นายช่าง ก็จะมีความใคร่ครวญถึง ลวยลาย.ที่จะลงบนพื้นผิวที อันเรียบสนิทแล้ว เหมือนกับท่านทำสมาธิถึงขั้นนี้แล้ว ก็จะส่งจิตใคร่ครวญ ถึงเบื้องขวาง –บน เป็นหุบเขา ที่มีป่าหนาทึบ
ท่านก็จะได้ ผลสมาบัติ ติดต่อกันไป โดยไม่ต้องรอกาลเวลา เหมือนกับช่าง.ที่ติดลวยลาย.ลงบนพื้นผิว ที่เรียบสนิท ก็จะได้ลวยลายในขณะนั้น เหมือนกับสมาธิขั้นทุติยฌาน
พอเป็นสมาธิแล้ว เราจะโน้นจิต ให้มุ่งไปทางไหน จิตก็จะตรงไปทางนั้นทันที เหมือนกับนายช่างจะติดลวยลาย
๓ อวิตักกอวิจารสมาธิ สมาธิ ที่ไม่มีองค์ธรรมคือวิตกและวิจาร มีแต่ปิติและสุข ในตติยฌาน ฯ เหล่านี้ คือธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญ ฯ
ธรรม ๔ อย่างที่ควรเจริญ คือ สติปัฏฐาน ๔ ๆ นี้ สำหรับท่าน ผู้ปฏิบัติ มาถึงขนาดนี้แล้ว ล้วนแต่เคยผ่าน การสัมผัสกับอารมณ์ในหลักสติปัฏฐาน นั้นคือ กาย เวทนา จิต ธรรม ฯ จะขอย่นย่อข้อความนี้ เพื่อไม่ให้เสียเวลา
ธรรม ๕ อย่างที่ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิ มีองค์ ๕ เป็นสมาธิ ขั้นจตุตถฌาน ขั้นที่ ๔ ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑ ปีติผรณตา ความแผ่ซ่านแห่ง(ปีติ) จะมีอาการขนลุกซู่ โล่งโปร่ง ทั้งกายและจิต ที่เกิดผลอย่างนี้ ได้มาจากปัญญาในฌานทั้ง ๒ ขั้น คือ ขั้นปฐม. ทุติยฌาน ฯ
จังหวะ.กระแทก. ๒ สุขผรตา ความแผ่นซ่านแห่งความสุข จะเกิดการนึกใคร่ครวญ ว่า เราจะทำอย่างงัย ให้ผู้คนอื่นเขา ได้มาเจอกับความสุขแบบนี้ เป็นองค์ที่ ๒ อประกอบ อยู่ในสมาธิขั้นจตุตถฌาน เกิดผลมาจากปัญญา ทั้ง ๓ ขั้น คือขั้น ปฐม. ทุติย. และตติยะฌาน ฯ ท่านผู้ฟัง.ๆ อย่าได้คิดว่า ผู้พูดนี้ บังอาจมาสอนท่าน แต่ได้นำมากล่าวตามหลักที่มีมาในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ ข้อ ๖๗ เท่านั้น ขอเชิญท่านได้ฟังต่อไปเถอะ ฯ
๓ เจโตผรณตา ความแผ่ซ่านแห่งปัญญาญาณ ที่กำหนดรู้ใจผู้อื่น, เป็นปัญญา ที่ฟังสรรพสำเนียง หรือเห็นกิริยาท่าทาง แล้วกำหนดรู้ว่า แบบนี้ สื่อความหมาย เป็นอะไร ภาษาพระท่านเรียกว่า รู้ธรรมในธรรม ที่กำลังเป็นไปในใจของผู้อื่น ในขณะนั้น ,
เป้า.เน้น สูง ต่ำ จังหวะ ลีฬา. ไม่ใช่รู้ไปคนละทาง อย่างนิทานเขาเล่ากันว่า มีหลวงจีนอยู่วัดหนึ่ง อยู่กับ พระน้องชาย วัดนี้มีกฎกติกาว่า ถ้าหากมีพระอาคันตุกะ มาขอพักค้างแรม ต้องโต้วาที ให้ชนะพระเจ้าถิน ถ้าแพ้ก็ต้องออกจากวัดไป ฯ อยู่ต่อมา มีพระอาคันตุกะ มาขอพัก ฯ ท่านเจ้าอาวาส มอบหน้าที่ให้กับพระน้องชาย ๆ มีตาข้างเดียว แล้วเน้นกำชับว่า ให้โต้กันด้วยภาษาเงียบ ฯ ทั้ง ๒ จึงพบกันที่โรงธรรม พอหายไปได้สักพักหนึ่ง พระอาคันตุกะ หอบสังขาร เข้าไปลาเจ้าอาวาส แม้ท่านเจ้าเอ๊ย. น้อยชายท่านเก่งจริง ๆ เลย ฯ โอ้.โห้. สนทนา กัน อีท่าไหน เนี้ย ตาปิดเลย ? คืออย่างนี้ ครับท่าน ผมชูขึ้น ๑ นิ้ว สื่อความหมายว่า พระพุทธฯ ผมไม่คิดว่า น้องท่าน จะชู ๒ นิ้ว คัดค้าน ถ้าไม่มีพระธรรม พระพุทธ ก็ไม่มีความหมาย ฯ ผม ชู ๓ นิ้ว โต้กลับคืน ถ้าหาก ไม่มีพระสงฆ์ เป็นผู้รับรอง พระพุทธ พระธรรม ก็คงไม่มีเหลืออยู่ ฯ ไม่คิดว่า ท่านจะชัดกำปัน เป็นคำตอบว่า ทั้ง ๓ นั้นแหละรวมเป็นหนึ่งเดียว ตาเขียวปั๊ด เลยเนี้ย ฯ โอ้ย.ย.โอ๊ย ๆ ตาย. ๆ แน่ ๆ ลาละครับ ฯ
หลากหลายอารมณ์ ลีฬา. สักพักหนึ่ง หลวงพี่ ๆ เห็นพระบ้ามัย ? อือ. รู้แล้ว ว่าโต้ชนะ ภูมิใจกับน้องชาย ฯ ชนะหยังกะผีอะไร ตะบั้นหน้ามันไป แล๊ว.ว ฯ อ้าว เอ้อ ๆ ? คือ. อย่างนี้ ครับ ที่แรก มันชู ๑ นิ้ว ว่า ผมมีตาเดียว ฯ
อ่อน นุ่ม.. ผมก็พอทนได้ ชูตอบ ๒ นิ้ว ว่า ท่านโชคดีมี ๒ ตา ฯ แทนที่จะเลิกพูด ชู ๓ นิ้ว ท่าน ๒ องค์ พี่น้อง รวมกันแล้วมี ๓ ตา ฯ นี้ไง. มึงจะเลิกพูดเรื่องตากู มัย. ? ฯ ท่านเจ้าคุณ ท่านพระวินัยสาทร เจ้าอาวาสวัดพระแท่น อย่านั่งฟังเฉย ๆ ให้ลองเอาไปใช้ดู .? มหาชำนาญ กลัวเจ็บตัว ไม่เอาหร็อก ฯ
๔ อาโลกผรณตา ความแผ่ซ่านไปแห่งแสงสว่าง ได้แก่ แสงสว่างแห่งปัญญาใน(ทิพพจักขุ) จะบอกว่า ตาทิพย์ก็ดูสูงไป ปัญญาที่มองเห็น ว่า ทางนี้ เป็นทางสว่าง ทางตรง ทางเกษม หรือ เป็นทางมืด เต็มไปด้วยเรียวหนาม ฯ ที่พูดนี้ ไม่ใช่ตาผีบอปน่ะ ๆ มองหาแก่สิ่งสกปรก ฯ แต่เป็นปัญญาที่มีอยู่ในตา(ทิพย์ป ฯ
เป้า.. ๕ ปัจจเวกขณนิมิต หรือ ปัจจเวกขณฌาน ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ๆ เลือกเฟ้นเอาออกไป ฯ ที่นั่งหลับตา ก็เพราะเลือกเฟ้นกระแส ท.ที่ไหลเข้ามาทางอายตนะ ตา หู ฯลฯเอาคืนไป เหมือนกับเพลงบอกว่า เอาคำว่ารักของเธอคืนไป ฯ ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ควรเจริญ ฯ สิ่งที่ควรเจริญ ยังมีอีกเยอะ ฯ
ธรรม ๖ ที่ควรเจริญ คือ อนุสสติฐาน ๖ ความระลึกถึง พระพุทธ ธรรม สงฆ์ ศีล (จาค)ทาน และเทวดา ฯ ขอย่อธรรม ๖ ฯ
ธรรม ๗ ที่ควรเจริญ คือ โพชฌงค์ ๗ ธรรม ๘ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ เลยไปที่ ฯ
ธรรม ๙ ที่ควรเจริญ คือ ปาริสุทธิ องค์อันเป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ ๙ คือ ๑ ศีลวิสุทธิ ความที่ศีลสะอาดหมดจด ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔ ฯ
๒ จิตตวิสุทธิ ความที่จิตสะอาดหมดจดดี ได้แก่สมาบัติ ๘
๓ ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ได้แก่การเห็นนามรูป มีความเป็นไปพร้อมทั้งเหตุปัจจัย ฯ
ค่อยเบา. ๔ กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งฌาน เป็นเหตุให้ข้ามพ้น จากความสงสัย ได้แก่ฌานในปฏิจจสมุปบาท ฯ
๕ มัคคามัคคฌาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งฌานเป็นเครื่องให้เห็นว่า นี้ เป็นทาง นี้ ไม่ใช่ทาง ได้แก่ ฌานที่รู้ว่า วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ไม่ใช่ทาง (อุทยัพพยฌานเป็นต้น) ฌานที่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปนั้นแหละเป็นทาง ฯ
ลาว..๖ ปฏิปทาฌานทัสสนวิสุทธิ ความหมดจด แห่งฌานเป็นเครื่องเห็น ทางปฏิบัติ เห็นศื่อ ๆ สื่อ ๆ เข้าใจมัย ?. ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙ ฯ
๗ ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ อันเป็นเครื่องเห็น ๆ ไม่ใช่เห็นสื่อ ๆ แต่เป็นเห็นคั๊ก ๆ ได้แก่ ปัญญาในอริยมรรค ๔
๘ พอเห็นคั๊ก ๆ แล้ว จะเกิด ปัญญาวิสุทธิ ความหมดจดแห่งปัญญา ฯ ๙ วิมุตติวิสุทธิ ความหมดจดแห่งวิมุตติ ฯ ธรรมเหล่านี้ ควรเจริญ ฯ พบเจอปัญหาชีวิต จะได้ร้องเพลงว่า ยังฉันยังไม่ตาย ยังหายใจสบาย ฯ ถ้า ๑๐ ก็เป็นกสิณ ๑๐ ฯ(รายละเอียด เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๕๙/๔๓๑)
เป้า เย็ญ.. ๓ น.๔๔ (ข้อ ๗๐)๓ (เอกรสาภาวนา) ภาวนามีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ต่อไป ขอให้ส่งจิต ตามกระแส ลองนั่งนึกถึงเหตุเกิด ที่ทำให้เราลงมือประพฤติปฏิบัติ มาจากไหน ? มาจากศรัทธา ใช้มัย ? ในเมื่อมีศรัทธา ตัววิริยอินทรีย์ จะทำหน้าที่หลัก ประครองศรัทธา ไปพร้อมกับปัจจัยภายนอกปรุ่งแต่ง เป็นตัวประธาน ฯ ต่อไป ก็จิต ทำหน้าที่หลักให้ศรัทธา ตั้งหมั่นให้ได้ ก็ไปพร้อมกับปัจจัยภายนอก อาจจะเป็นคนใกล้ชิด ปรุ่งแต่งให้ศรัทธาตั้งมั่น เป็นตัวความเพียรพยายามฯ แล้วต่อไป เป็นหน้าที่หลัก คือวิมังสา การคล้าคลึ่งอารมณ์ ข่มอารมณ์ บริหารจิตให้อ่อน ควรแก่การน้อมนึก ครั้นแล้ว ก็น้อมนึก ตั้งจิตไว้ในจิต ตั้งจิตไว้ในกาย น้อมนึกถึงสุขสัญญาหรือ(ลหุสัญญา)สัญญาที่เบาสบาย ไว้ในกาย กายก็จะมีความสุข เบาสบาย ฯ
เนื้อความธรรมะทั้งหมดนี้ ได้นำมาจากพระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ ข้อ ๖๔ ธรรมเหล่านี้ควรละ ฯ ข้อ ๖๗ ธรรมเหล่านี้ ควรเจริญ ฯ สำหรับท่านที่ต้องศึกษาค้นคว้า ก็สามารถศึกษาค้นคว้าได้จากพระไตรปิฏกทั้งฉบับคอม ฯ และฉบับบันทึกเป็นอักษร ฯ
ขอกราบขอบพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระวินัยสาทร เจ้าอาวาสวัดพระแทนศิลาอาสน์ที่ได้เอื้อเฟื้อ ถวายเวลา และอีกส่วนหนึ่ง ทางสถานีวิทยุ อสมท. ก็ได้จัดเวลาถวายให้พอสมควร ฯ สำหรับรายการธรรมะในวันนี้ได้หมดเวลาลงแล้ว ฯ ขอให้ท่านผู้ฟังจงโชคดี ฯ
๕ รายวิทยุ เล่ม ๓๑
อาทิตย์ ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ขอเจริญพร ท่านผู้รับฟัง วันนี้ เป็นวันพระแรม ๑๕ ค่ำที่ ๑๗ พฤษภาคม เดือน ๖ มีการฟังธรรม ตามที่พระเจ้าพิมพิสาร ได้ทูลขอพร ในสมัยต้นปฐมโพธิกาล ๆ ไม่มีวันพระ ไม่มีการแสดงธรรมจากพระสาวก เหล่าพุทธสานิกชน ทำบุญแล้ว ก็ไปฟังธรรมที่อื่น เป็นเหตุให้พระเจ้าพิมพิสาร จึงทูลขอให้พุทธองค์ทรงอนุญาต ให้มีการแสดงธรรม ฯ ณ บัดนี้ ถึงเวลา รายการธรรมะ ของวัดพระแทนศิลาอาสน์ ฯ ในวันนี้ เป็นการชี้แจงธรรมะในอริยะสัจ ๔ เล่มที่ ๓๑
ล้อ..เอ๊อ.ท่าน บรรยายอย่างไง เดี่ยวปั๊ด ล้อตาปิดเลย ฯ ทำไม ไม่เริ่มจากเล่ม ๑ ๆ ถึง ๓๐ ได้เลือกเฟ้นเนื้อหาสาระ จัดเป็นสคริบรายการ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อีกประการหนึ่ง ก็คือคำถามว่า ภพภูมิ ที่ตั้งแห่งวิญญาณ จึงได้ชี้แจ้ง เล่ม ๓๑ เลื่อกเฟ้นธรรมในธรรม อันเป็นภูมิ ที่ตั้งแห่งวิญญาณในพรหมโลก ที่ท่านผู้รับฟัง เคยสัมผัสทางอารมณ์
น.๕๐ (ข้อ ๗๗) ธรรม ท.เหล่าไหน? ที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง ฯ มีหลายอย่าง หลายประเด่น
หนัก. ซัด. ธรรม ๑ อย่างหนึ่ง ที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง คือ (เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ)ความที่จิตหลุดพ้นจากอารมณ์กระทบกระทั่ง ฯ เกิดอะไรขึ้น มันดีเหน๊อ . เป็นเพราะจิตมันไม่กำเริบ (ด้วยอำนาจอกุปปธรรม) ฯ
ล้อ. เป้า.. ธรรม ๒ ที่ควรทำให้แจ่มจั้ง คือ ๑ วิชชา ๒ วิมุตติ ฯ ธรรม ๓ ทีควรทำให้แจ่มแจ้ง คือ วิชชา ๓ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความรู้แจ้งถึงขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทีตนเองเคยอยู่อาศัยมาแต่ปางก่อน ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ไม่ลืมกำพืชของตนเอง รู้จักเจียมกะลาหัว อะไรละ คือกะลาหัว หัว ตอนนี้ไม่มีผมแล้ว ฯ ๒ ทิพพจักขุญาณ ความรู้แจ้งด้วยตา(ทิพย์)ปัญญา ถ้าจะว่าตาทิพย์ ถูกเกินไป ต้องเรียกว่า คนตาถึง ไม่ใช่พวกตาถัว ตาข้าวโพด ตาสับปะรด ดูมาก ก็เห็นมาก ไม่เกิดสาระประโยชน์ ฯ ๓ อาสวักขญาณ ความรู้แจ้งที่ทำให้สิ้นอาสวะ ฯ วิชชา ๓ จะมีอธิบายนับเนื่องในอภิญญา ๖ ข้างหน้าอีก ขอให้ท่านได้กำหนดตอนนี้ไว้
มีหลายประเด่น.. ธรรม ๔ ที่ควรทำให้แจ่มแจ้งคือ สามัญญผล ๔ ผลแห่งความเป็นสมณะ ผู้สงบระงับบาปธรรม ๔ อย่าง คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล ฯ
มีหลายประเด่น .ธรรม ๕ ที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง คือ ธรรมขันธ์ ๕ คือ ๑ สีลขันธ์ หมวดศีล ๒ สมาธิขันธ์ ๓ ปัญญาขันธ์ ๔ วิมุตติขันธ์-แห่งจิตหลุดพ้นจากอารมณ์กระทบกระทั่ง คืออโหสิกรรม ฯ ๕ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ หมวดแห่งธรรมที่รู้ชัดถึงผลของอโหสิกรรมนั้น เป็นเหตุให้จิตหลุดพ้นจากอารมณ์ ฯ ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า แต่งขันธ์ ๕ ให้คนป่วยถือไว้แล้ว ว่าตาม ฯ
เป้า . ธรรม ๖ ที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง คือ อภิญญา ๖ หมายถึงความรู้เจาะลึกตรงอย่างยิ่งยวด ความรู้ชั้นสูงที่สุด ๖ ประการ คือ ๑ อิทธิวิธญาณ ความรู้ยิ่ง ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ คำว่า ฤทธิ มีความหมายว่า สำเร็จ ฤทธิ์ของชาวนา ทำนาได้สำเร็จ ก็เรียกว่า ฤทธิ์ ฤทธิ์ของพ่อค้า ฤทธิ์นักธุรกิจ เป็นความหมายในอภิญญา ๖ ทั้งนั้น ฯ ๒ ทิพพโสตญาณ ความรู้ยิ่ง ที่ทำให้เกิดมีหู(ทิพย์) มีความหมายว่า ฟังคำพูดแค่คำ ๒ คำเท่านั้น สะดุดปั๊บ ปัญญา ติดพรึบทันทีเลย อภิญญา ขั้นที่ ๑ ที่ ๒ มั่นใจว่า ผู้รับฟัง เคยทำให้แจ่มแจ้ง มาแล้ว ฯ ๓ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ มีอธิบายเหมือน วิชชา ๓ อย่างที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง ฯ ๔ เจโตปริยญาณ ความรุ้ยิ่งที่ทำให้กำหนดรู้จิตใจของคนอื่นได้ ฯ ๕ทิพพจักขุญาณ ฯ ๖ อาสวักขยญาณ มีอธิบายเหมือนวิชชา ๓ ฯ
ล้อ. ไม่จ๊าบ เลย . เอาใหม่ ธรรม ๗ ที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง คือ กำลังของพระขีณาสพ ๗ คือ ๑ พระขีณาสพ ในพระธรรมวินัยนี้ เห็น(สังขาร)สภาวะที่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งขึ้นทั้งปวงดีแล้ว โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯ ๒ เห็นกาม ท. ซึ่งเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ฯ ๓ มีจิตน้อมโอนยินดียิ่งใน(วิเวก)ความสงัดจากกามคุณ ฯ ๔ หมั่นเจริญภาวนา(สติปัฏฐาน ๔)ตรวจตราดู กาย เวทนา จิต ธรรม อย่างเนื่องนิจ ฯ ๕ หมั่นเจริญภาวนา อินทรีย์ ๕ เป็นประจำ เคยเจอคำถามว่า ทำไม นักเรียน ดื่อนัก ขอคำตอบคำ สั่น ๆ คำเดี่ยว..เข้าใจคำว่า ศรัทธามัย.นี้แหล่ะ คือศรัทธาอินทรีย์ หน้าที่หลักของศรัทธา รู้จักประคับประครองศรัทธา มัย. นั่นแหละคือ วิริยอินทรีย์ พอประคับประครอง เข้าใจคำว่า ศรัทธาตั้งมั่นมัย. นั่นแหละคือ จิตตอินทรีย์ , พอตั้งมั่นแล้ว เป็นหน้าที่ของวิมังสาอินทรีย์ จะเกิดการเลื่อกเฟ้นค้นหาเหตุ, ตอนนี้แหละ ปัญญาอินทรีย์ จะได้รู้กัน ว่าอะไรมันจะเกิด ถ้าดีจริง ๆ องค์แห่งปัญญาเป็นเหตุให้ตรัสรู้ คือ ฯ ๖ การหมั่นเจริญภาวนาโพชฌงค์ ๗ จะตามมา ขอย่อ ฯ แล้วจะส่งผลให้ ฯ ๗ เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ อีกต่อไป ฯ
เป้า..หลายอย่าง หลายประเด่น เลื่อกเอาเล่ม ๑๑ ข้อ ๓๓๙ ก็ได้ ธรรม ๘ ที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง คือ วิโมกข์ ๘ วิโมกข์หมายถึง ภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวน(ปัจจนีกธรรม) น้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้น ๆ อย่างปล่อยตัวเต็มที่ เหมือนการที่ทารกนอนปล่อยตัว อยู่บนตักของบิดา ซึ่งเป็นไปในขั้นตอนต่าง ๆ ๘ ขั้นตอน ขั้นตอนที่ ๑ ท่านผู้ได้สมาธิฌาน (รูปฌาน) ย่อมได้เห็น ได้สัมผัส (รูปฌาน ๔)กับอารมณ์ที่อาศัยฌานแต่ขั้นเกิดขึ้น เป็นปฐมฌาน ทุติยฌานฯลฯ ที่ตนเจริญภาวนาให้เกิดขึ้น ด้วยอำนาจการเพ่งวัณณกสิณ ๆ คือวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อน้อมจิตให้ดิ่งเป็นสมาธิ ฯจะยืน เดิน นั่ง นอน กสิณ ก็ปรากฏนิ่ง ต่อไปก็ ฯ ขั้นตอนที่ ๒ (ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน) เจริญกสิณ โดยกำหนดเอากสิณอารมณ์ภายนอก (เห็นรูปในภายนอก) ด้วยฌานคือจักขุ เห็นรูปวัณณกสิณปรากฏนิ่งเหมือนเดิม ท่านผู้ได้สมาธิฌาน ถึงขนาดนี้ ต่อไป ฯ ขั้นตอนที่ ๓ จิตของท่านจะดิ่นรนหาทางหลุดพ้น โดยน้อมใจเชื่อว่า กสิณ ที่เป็นซากศพอสุภ เป็นของสวยงาม ฯ ขั้นตอนที่ ๔ ท่านใช้วิปัสสนาฌาน พิจารณาเห็นร่างกาย เป็นของปฏิกูล เป็นที่อาศัยของหมู่หนอน จนนิมิตเป็นของมั่นคงดี ถึงขั้นล่วงเลย จากรูปสัญญา
น.๑๓ เล่ม ๓๑ เชิงอรรถ สัญญา ๆ ความกำหนดหมายเอา อารมณ์ ๖ คือ รูปสัญญา ๆ ความกำหนดหมาย รู้รูป รู้เสียง –กลิ่น จึงได้เกิด สัญเจตนา ความจงใจ ที่จะล่วงเลยไปจากอารมณ์ ๖
ข้ามพ้นไปจากการกำหนดรู้ใน(รูป)อารมณ์ของอายตนะ ๖ (เพราะปฏิฆสัญญา) เป็นเพราะดับอารมณ์อารมณ์ปฏิกูล ที่เป็นเหตุกระทบกระทั่งแห่งจิต แล้วก็ไม่ใส่ใจถึง(นานัตตสัญญา) ตัวตนเองและสัญญา จะเป็นไปอย่างไงก็ชั่ง ? บำเพ็ญจน(วิญญาณัญจายตนะ หรือ อากาสานัญจายตนะ) เป็นสมาธิที่เข้าถึงความว่างเปล่า เหมือนอากาศไม่มีที่สิ้นสุด ฯ
ขั้นตอนที่ ๕ (วิญญาณัญจายตนะ)เข้าถึงภาวะว่าง(วิญญาณ หรืออากาส)ไม่มีที่สิ้นสุด ฯ อย่างชอบใจรูป วิญญาณเกิดที่ตา ชอบใจเสียง เสียงกระทบหู วิญญาณ เกิดที่หู เลื่อยไป ไม่มีที่สิ้นสุด ฯ
ขั้นตอนที่ ๖ ท่านผู้บำเพ็ญเพียรจนล่วง จนเข้าถึงอากัญจัญญายตนะ โดยใส่ใจว่า วิญญาณไม่มี สาระ อะไรเลย ๆ สักนิดหนึ่ง ก็ไม่มี ฯ
เป้า.. เหมือนอย่าง หลวงพ่ออยู่แถวข่อนแก่ ที่ชาวบ้าน เรียกว่า หลวงพ่อดีเหนาะ ไม่รู้ว่าเรื่องอะไรต่อเรื่องอะไร ที่ไม่ชอบใจ ก็เอามาเล่าสู่หลวงพ่อฟัง พอฟังแล้ว ไปตรงกับคำถามที่ว่า ตัณหา มันเกิดที่ไหน ? ที่ไหนก็ชั่ง ที่เป็นทีชอบใจ ตัณหา มันเกิดที่นั้น ในเมื่อมีตัณหา แล้ว วิญญาณ ๖ ตา หู ฯลฯ มันก็จะเกิดตามมา เรื่องชั่ว ๆ เสีย ๆ ฯ หลวงพ่อ ท่านฟังแล้ว วิญญาณมันไม่เกิด ก็บอกว่า ดีเหนาะ ฯ เป็นขั้นตอนวิโมกข์ที่ ๖
ขั้นตอนที่ ๗ ปฏิบัติลึกเข้าไปอีก ย่อมเข้าถึง(เนวสัญญานาสัญญายตนะ) อายตนะ อวัญวะเครื่องต่อ แล้วรับรู้อารมณ์ของจิต คือ ความสัมพันธ์กัน ระหว่างภายใน คือ ตา หู ฯลฯ และภายนอก คือ รูป เสียง ฯ ยังมีความสัมพันธ์กันอยู่ ก็ไม่ใช้ จะว่าไม่มีเลยก็ไม่ใช่ เพราะเป็นสื่อสังขารอันละเอียด ฯ
น.๓๖๕ ขั้นตอนที่ ๘ เห็นก็เพี่ยงแต่เห็น ได้ยิน ก็เพี่ยงแต่ได้ยิน ไม่สนใจ ย่อมเข้าถึง (สัญญาเวทยิตนิโรธ)การดับสัญญาและเวทนา ไม่สุข ไม่ทุกข์ กับอารมณ์ เป็นวิโมกข์ที่สูงเยี่ยม เพราะนามขันธ์ ๔ บริสุทธิ์ คือพรากพ้นออกจาก(ปัจจนีกธรรม)สิ่งรบกวนอารมณ์ อย่างเต็มที่ จึงน้อมดิ่งเข้าไปหาความดับสัญญาและเวทนา จำตอนนี้ไว้ จะมีอธิบายหัวข้อซ้ำกันข้างหน้า ฯ (น.๕)
อ้าว.ยังไม่พอใจ .หลายประเด่น . ธรรม ๙ ที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง คือ อนุปุพพนิโรธ ๙ ความดับไปตามลำดับ หมายถึง ต้องดับขั้นตอนต้น ๆ แต่ละขั้น ไปตามลำดับ จึงจะเข้าถึงสมาธิชั้นสูง ที่อยู่ถัดขึ้นไปได้ เป็นอีกชื่อหนึ่ง ของอนุปุพพวิหาร ๙
ความดับไป ลำดับที่ ๑ ท่านที่บำเพ็ญสมาธิภาวนา จิตเงียบสงัดจากกามคุณ จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ๆ ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุข ฯ เป็นเพราะกามสัญญา ดับไปแล้ว ฯ
ลำดับที่ ๒ ท่านบรรลุทติยฌาน ที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิต เป็นหนึ่งเดียว ฯ ในทุติยฌานนี้( ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร)ไม่ต้องข่มจิต ไม่ต้องใครครวญอารมณ์ ฯ มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิดำรงอยู่ ฯ
ลำดับที่ ๓ ปีติ ดับสิ้นไปแล้ว ได้บรรลุตติยฌาน เป็นผู้มี(อุเบกขา)ความวางเฉยต่ออารมณ์ มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยแต่ความสุขด้วยนามกาย ที่พระอริยเจ้า ท.สรรเสริญว่า ท่านผู้ได้ฌานนี้ (เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ ดำรงอยู่แต่ในความสุข) มีแต่ความสุข จากความวางเฉย ฯ ต่อไป
ความดับไป ลำดับที่ ๔ ท่านผู้ที่ได้บรรลุฌานชั้นสูงขึ้นไปอีก เป็นจตุตถฌาน ท่านไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีสติบริสุทธิเพราะอุเบกขา ฯ ไม่ใช่เดินจนกางเกงหลุดไม่รู้ตัว ฯ ถ้าพูดแค่ลำดับที่ ๔ ก็น่าจะพอ ความรู้สึกว่า เป็นอย่างนั้น ฯ
ลำดับ ต่อไป ฟัง เพื่อเลื่อกเฟ้นถึง ธรรมในธรรม กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต
ลำดับที่ ๕ ทำให้ท่านล่วงเลย (รูปสัญญา) จากการกำหนดหมาย รู้รูป ๆ ที่อาศัยตัณหาเกิด ฯ ตัณหา ที่เกิดขึ้นจาก (สัญเจตนา) ความจงใจในอารมณ์ ๖ คือ (รูปสัญเจตนา) ความจงใจในรูป ฯ
ปฏิฆสัญญา เป็นเพราะความกำหนดหมายถึงจิตที่มีอารมณ์กระทบกระทั้ง ดับสนิทไป จึงไม่ใส่ใจถึง(นานัตตสัญญา) ตัวตนและสัญญาที่เป็นไปต่าง ๆนานา จึงเข้าถึง(อากาสานัญจายตนะ)ความว่างเปล่าไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนอากาศ
ลำดับที่ ๖ ย่อมเข้าถึงความรู้เห็นประจักษ์ว่า (วิญญาณัญจายตนะ) อายตนะ ที่เป็นเหตุรับอารมณ์ ต่อ ๆ ไป ของวิญญาณ จะไปหมดที่ไหน โดยท่านใส่ใจบริกรรมว่า อนันตัง วิญญาณัง วิญญาณ ไม่มีที่สิ้นสุด ฯ
ความดับที่ ๗ เมื่อท่าน มีความพอใจ จะเกิดมีฐานรองรับ(ฤทธิ์)ความสำเร็จ คือการประคับประครองความมุ่งมั่น ปัญญาตามใครครวญดู ดิ๊. วิญญาณ จะมีอะไรเป็นแก่นสาร มั๊ย . ฯ ท่านใส่ใจดูทุกระยะกระแสอารมณ์ที่ผ่านเข้ามา ๆทางอายตนะ ๖ คือ เห็น ก็ไม่มีสาระสำคัญอะไร ฟังไปก็ไม่มีประโยชน์ จะรับรู้ไปทำไม
ก็จะรู้ว่า (นัตถิ กิญจิ) วิญญาณ ไม่มีสาระแก่นสารอะไร เลย.ย. ไม่มีจริ ฯ
ลาว.. ความดับ ที่ ๘ ในเมื่อเห็นวิญญาณไม่มีสาระแก่นสารอะไรแล้ว ก็ไปซิ. วิญญาณ ๆ จะดำรงมั่นอยู่อีกทำไม (ไปเท้าแม๊ อย่ามาเหลียวเบ่งหน้า แม๊น ๆ เด๊อ.ซัดตาเขียวเด๋อ.) จึงทำให้จิตของท่านเข้าตั้งมั่นอยู่ใน(เนวสัญญานาสัญญายตนะ) อายตนะมีสัญญาอย่างละเอียด จนท่านใครครวญว่า อายตนะ สื่อรับรู้อารมณ์ของเรา ยังมีอยู่ หรือมัยหนอ. หรือว่า ไม่มีแล้ว ฯ
เป้า. ให้เด็น กำหนดนับลมหายใจเข้าออก ดีกว่า เข้าใจง่าย .การนับลมหายใจ เข้า ออก ก็ต้องนับ อย่าให้ต่ำกว่า ๕ ถ้าต่ำกว่า ๕ จะออกจากสมาธิไว้ เหมือนกับเราอยู่ในห้องแคบ ๆ ฯ แต่อย่านับไปให้เกินกว่า๑๐ เพราะจะทำให้จิตพะวงกับการนับ ดึงลมหายใจเข้ายาว .ว ให้สุดกำลังเต็มที่ ร่างกายจะไหวในเมื่อลมเข้า ท้องจะมีอาการเหมือนกับลูกโป่งที่สูบลมเข้าเต็มที่ ในเมื่อปล่อยลมออก ลูกโป่งก็จะแปบ เหมือนกับเรา ปล่อยลมใจออกจากท้อง ฯ
ในเมื่อท่านนับไปอยู่อย่างนี้ ลมหายใจเป็นสื่อสังขารที่ละเอียด กายและจิตเบาสบายขึ้นไปเลื่อย ๆ ละเอียดจนทำให้ท่านจะรู้สึกว่า สื่อลมหายใจเข้าออก ของเรายังมีอยู่ มัยหนอ ? นี้ เป็นลำดับที่ ๘ มั่นใจว่า ทุกคน เคยสัมผัสกับอารมณ์แบบนี้มาแล้วทั้งนั้น ฯ
ความดับที่ ๙ จึงทำให้ท่านเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ มีอธิบายเหมือนกัน ฯ เหล่านี้ คือ ธรรม ๙ ที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง ฯ
หลายประเด่น ให้เลื่อก เอาอีกก็ได้ . ธรรม ๑๐ ที่ควรทำให้แจ่วแจ้ง คือ อเสกขธรรม ๑๐ หมายถึงธรรมที่เป็นอเสขะ ที่ประกอบด้วยอริยผล ในไตรสิกขา ข้อ ๑ ถึง ๘ เป็นความหมายอริยมรรค มีองค์ ๘ , ข้อ ๙ คือ สัมมาญาณะ ความรู้ชอบ ๑๐ สัมมาวิมุตติ ความหลุพ้นชอบฯ ทั้งหมดเหล่านี้ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง ฯ
เป้า..น.๕๑ (ข้อ ๗๘ ) สิ่ง ทั้งปวงควรทำให้แจ่มแจ้ง คือ อะไร ? คือ อายตนะ ๖ ตา หู ฯลฯ รูป เสียง ฯลฯเรื่องที่ได้สดับมา ที่ได้เห็นมา มีปัญญารู้ถึงผลแห่งธรรมที่จะตามมาอีกว่า “ เรื่องเหล่านี้ เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ในส่วนแห่งความวิเศษวิโส ในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ฯ
อุปมา เหมือน สัญญาและมนสิการ อันประกอบด้วยกามคุณ ๆ เป็นไปกะท่านผู้ใด ผู้ที่ได้ปฐมฌาน กามคุณ ๕ เหล่านี้ เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ฯ
สติ อันสมควรแก่ปฐมฌาน นั้น ยังดำรงตั้งอยู่ นี้ เป็นธรรม ที่เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ฯ
สัญญาและมนสิการ ของท่านผู้บรรลุปฐมฌานแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับ(วิตก)การนึกภาวนา เพื่อข่มจิตให้เป็นสมาธิ ฯ นี้ เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ เพราะล่วงเลย(วิตก)การข่มจิตให้เป็นสมาธิ ตั้งแต่บรรลุ ปฐมฌานแล้ว ฯ
สัญญาและมนสิการ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย (ประกอบวิราคะเป็นไปอยู่) นี้ เป็นธรรม สูงขึ้น เป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส ฯ
น.๕๓ เอ๊อ.ถ้าหากว่า สัญญาและมนสิการ (อันเป็นไปกับด้วยวิตกยังเป็นไปอยู่)ของท่านผู้ที่ได้สมาธิขั้นทุติยฌานแล้ว เป็นขั้นฌานที่หลับตาพลับ จะได้สัมผัส กับปีติและสุขทันที่เลย แต่เสื่อมถอยกลับไปข่มจิตให้นิ่ง ต้องนั่งนึกภาวนาอีก ฯ นี้ เป็นฌานเสื่อม ฯ
หากว่า สติอันเป็นธรรมสมควรแก่ทุติยฌานนั้น ยังคงอยู่ ฯ นี้ เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ฯ
ถ้าเกิดสัญญาและมนสิการ ได้สัมผัสกับอารมณ์วางเฉยและความสุข ฯ นี้เป็น ไปในส่วนแห่งความวิเศษ ฯ
ถ้าเกิดว่า สัญญาและมนสิการ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย (ประกอบด้วยวิราคะ) ในข้างฝ่ายคลายกำหนัดไม่ยินดี กับโลกธรรม ๘ มีลาภ มียศ เป็นต้น ฯ นี้ เป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส ฯ
น.๕๔ บำเพ็ญเพียรจนได้ชื่อว่า ผู้มีฌาน ๆ แปลว่า รู้ถึงธรรมนั้น ๆ จึงเกิดปัญญา ๆ แปลว่า รู้ชัดถึงผลของธรรมนั้น ฯ
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เหล่านี้ คือธรรม เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ในส่วนแห่งความวิเศษ ในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
เนื้อความธรรมะทั้งหมดนี้ ได้นำมาจากพระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ ข้อ ๗๗ ธรรม ท.เหล่านี้ ควรทำให้แจ่มแจ้ง ฯ และเนื้อความอนุปุพพนิโรธที่สอดคล้องกัน ในเล่ม ๑๑ ข้อ ๓๓๙ วิโมกข์ ๙ ที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง ฯ
ขอกราบขอบพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระวินัยสาทร เจ้าอาวาสวัดพระแทนศิลาอาสน์ที่ได้เอื้อเฟื้อ ถวายเวลา และอีกส่วนหนึ่ง ก็เป็นเวลาที่ทางสถานีวิทยุ อสมท. ก็ได้จัดเวลาถวายให้ตามสมควร ฯ สำหรับรายการธรรมะในวันนี้ ได้หมดเวลาลงแล้ว ฯ ขอให้ท่านผู้ฟังจงโชคดี ฯ
๖ รายวิทยุ เล่ม ๓๑
อาทิตย์ ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ขอเจริญพร ท่านผู้รับฟัง วันนี้ เป็นวันโกน ขึ้น ๗ ค่ำที่ ๒๔ พฤษภาคม เดือน ๗ มีเนื้อความในธรรมบท ภาค ๗ ว่า ในสมัยต้นปฐมโพธิกาล ไม่มีวันพระ ไม่มีการแสดงธรรมจากพระสาวก เหล่าพุทธสานิกชน ทำบุญแล้ว ก็ไปฟังธรรมที่อื่น เป็นเหตุให้พระเจ้าพิมพิสาร จึงทูลขอให้พุทธองค์ทรงอนุญาต ให้เหล่าพุทธบริษัท ๔ แสดงธรรมได้ ตามกำลังสติปัญญา ฯ ณ บัดนี้ ถึงเวลา รายการธรรมะ ของวัดพระแทนศิลาอาสน์ ฯ เป็นการชี้แจงธรรมะในอริยะสัจ ๔ เล่มที่ ๓๑
ล้อ.ซัด ๆ .จังหวะ. น.๕๕ (ข้อ ๘๐) ในอริยสัจ ๔ ประการ ทุกข์ เป็นอย่างไร ? เอาง่าย ๆ เห็น ๆ ชาติ ถ้าบอกว่าเกิด ๆ อะไร ? ความปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปต้องเจ็บป่วย ๆ แล้ว เวทนา ก็ต้องสัมผัสรับทุกข์เวทนา ฯ ทุกข์เพราะขันธ์ ๕ ๆ ปรุ่งแต่ง อาการบำบัดอารมณ์ ,ๆ บ่จอย ที่ได้มาจากฯ อายตนะๆ มีสติ เป็นผู้ปิดเปิด รับกระแสกิเลสตัณหา ที่จะไหลเข้ามาทางอายตนะ ๖ ฯ
เป้า..ล้อ.. อายตนะที่ ๖ คือ ใจ ๆ ของหมู่สัตว์ ๆ แต่ละจำพวก ดื่มด่ำ ติดกระแสอารมณ์ ไม่เหมือนกัน บางพวกดื่มด่ำกับกลิ่นหอม เกสร อากาสบริสุทธิ ยามเช้า ฯ นี้ ก็คือชาติ ฯ พวกไหน ที่มีอัธยาศัยคับแคบ อิจฉา กลัวคนอื่นเขาจะไม่รู้จักคุณธรรมของตนเอง ก็จะดื่มด่ำติดนิสัยการพูดจา ฯ วิบากกรรมจะส่งผลให้เสียประสาทในการรับโอชัฏฐมกรูป รูปที่เกิดจากการแผ่นซ่านของสารอาหาร เป็นลำดับที่ ๘ ฟังธรรมะ ฟังยาก ยังต้องแปลอีก น่าบอกว่า เสียประสาทรับรส ๆ ที่เกิดประโยชน์ ๆ ,ทางตา ๆ เขาเอาไว้รับ รูป เสียประสาทเอาไปรับกำปั้น ฯ นี้ก็คือชาติ ฯ ส่วนชรา มรณะ โศกเศร้า คร่ำครวญ ทุกข์ยาก ฯ สู้ศึกตอนดึก ๆ กำงานหนัก ทำรักบ่อย แรงน้อย ถ้อยกำลัง นั่งคอพับ สัปหงก อันนี้ก็ ทุกข์ ฯ เข้าใจง่าย ฯ (ว่าเอาเอง)
ทำนองสวด.. กระแทก. จังหวะ.. น.๕๘ พอเกิดมาแล้ว ต่างก็มีความปรารถนาว่า “ อย่าได้ทุกข์กาย –ใจเลย ฯ สิ่งนี้ ไม่มีใคร ที่ได้ตามความปรารถนา ฯ นี้แหละคือชาติ ๆ เป็นทุกข์ ฯ
น.๕๘ (ข้อ ๘๓) แล้ว เหตุเกิดทุกข์ เป็นอย่างไง ? ตัวตัณหา ที่ทำให้เกิดภพใหม่ ๆ ที่ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี เพลิดเพลิน ในอารมณ์ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ
หยุดจังหวะ.. เมื่อเกิด ย่อมเกิดที่ไหน ? ตั้งอยู่ ที่ไหน ? สิ่งใด เป็นที่รัก ที่ชอบใจ ตัณหา เมื่อเกิด ย่อมเกิดในสิ่งนั้น ฯ ตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ฯ
ส่งอารมณ์.. แล้วสิ่งอะไร รึ. เป็นที่รัก ที่ยินดี ในโลก ? ตา หู ฯลฯ ตา เป็นที่รัก ที่ยินดี หาสีมาเขียนให้มันสวย ฯ หู เป็นที่ยินดี หาอะไรมาประดับ ฯ ตัณหา เมื่อเกิด เกิดที่หู ตั้งอยู่ที่หู ฯ
ชอบใจรูป ชอบในเสียง แล้วจะเกิด(สัททสัญเจตนา) ความจงใจในเสียง ตัณหาเกิด แล้วตั้งอยู่ ในเสียง เป็นทุกข์ เพราะกามตัณหา อยากได้ อยากมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส พอเบื่อแล้ว กลายเป็นวิภวตัณหา ภพที่มนุษย์อยู่อาศัย คือ ภพแห่งกามคุณ ๕ รวมไปถึง สวรรค์อีก ๖ ชั้น ภพ มาจาก ภู ธาตุ ในความมี ความเป็น
หยุด... แต่สวรรค์เขาเป็น เทวโลก เทว มาจาก ทิว แปล ว เป็น พ แปลว่า กามคุณทิพย์ ฯ นี้ คือ (ทุกขสมุทัย) เหตุเกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ฯ
แข็ง.. น.๕๙ (ข้อ ๘๔) เมื่อจะละ ตัณหา จะละได้ ที่ไหน ? ที่ไหน เป็นที่รัก ที่ยินดี จะละ ก็ละได้ ในที่นั้น ฯ
สุขุม จังหวะ.เบา.ส่ง. น.๕๙ (ข้อ ๘๕) แล้วทาง ที่จะให้ดำเนินไป ถึงความดับทุกข์ เป็นอย่างไร ? คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ฯ ๑ สัมมาทิฏฐิ รู้เห็นอย่างไร จึงชื่อว่า รู้เห็นชอบ ฯ รู้เห็น ในทางที่จะให้เกิด (สัมมาสังกัปปะ)ความดำริออกจากกามคุณ ไม่มีความอาฆาตพยาบาท ฯ
ซัดๆ.จังหวะ.กระแทก.. จึงจะทำให้เกิดผล คือ (๓ สัมมาวาจา) การเจรจาความจริง ไม่เจรจาส่อเสียด ไม่ใช้คำหยาบ ฯ (๔ สัมมากัมมันตะ) จึงได้มีเจตนา งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ฯ (๕ สัมมาอาชีวะ) จึงส่งผล ให้เกิด การเลี้ยงชีพ ที่ถูกต้อง ฯ (๖สัมมาวายามะ) ก็จะทำให้เกิดฉันทะ พยายาม ประคับประครองจิต เริ่มตั้งความเพียรจิตภาวนา เพื่อยังบาปอกุศลจิต ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น ในชาตินี้ ก็อย่าให้เกิดขึ้น ฯ
ก็เพื่อละบาปอกุศลจิต ที่เคยเกิด ขึ้นมาแล้ว ฯ เพื่อยังจิตภาวนา ซึ่งยังไม่เคยทำ ไม่เคยสัมผัสอารมณ์ ให้เกิดขึ้น ฯ (๗ สัมมาสติ) เพื่อความตั้งมั่น แห่งจิตภาวนา ที่เกิดขึ้นมาแล้ว ในชาตินี้ ไม่ให้เลื่อนหาย ฯ เมื่อจิตภาวนาเกิดขึ้นมาแล้ว ต่อไป (๘ สัมมาสมาธิ) ก็ใช่วิปัสสนาภาวนา พิจารณาเห็นกายในกาย เวทนา ในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เพื่อกำจัด(อภิชฌาและโทมนัส)โทษแห่งความน้อยเนื้อต่ำใจ ในวาสนาของตนเอง เป็นเพราะเพ่งเล็งสอดส่วย อยากจะเอาผลประโยชน์ ฯ แล้วจะส่งผลให้ สงัดจากกามคุณ บาปอกุศล เข้าถึงสมาธิ ฯ
ซัด ๆ .จังหวะ. เป็นเพราะความวางเฉย ดับ(ปฏิฆารมณ์)จิตที่ถูกอารมณ์กระทบกระทั่ง ระงับความดีใจ เสียใจ ฯ นี้คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ ในพระไตรปิฏกอธิบายความไว้อย่างนี้ ฯ จะขอศึกษา เนื้อหาสาระ ก็ยังเข้าไม่ถึง ไปตามลำดับ ต่อไปก็เป็นศีล
น.๖๒ (ข้อ ๘๖) สีลมยฌานนิทเทส แสดงญาณความรู้อันสำเร็จมาแต่ศีล
ล้อ.ส่ง.กลาง น.๖๒ ให้ปล่อยอารมณ์ ไปตามจังหวะ กระแสธรรม ใครครวญธรรมในธรรม ๑.(ปริยันตปาริสุทธิศีล ศีลที่ยังต้องหมดความบริสุทธิ์(มีส่วนสุด) ศีล เมื่อเริ่มต้นใหม่ ๆ ก็ขาวสะอาดบริสุทธิ์ดี พอกาลเวลา ผ่านไป เริ่มจะมีคนรู้จัก เริ่มที่จะมียศ พงศาคณาญาติ ว่าไปแล้ว จะเหมือนกับองค์ที่พูดอยู่ตรงนี้ หรือเปล่า ?.หว๊า..ฯ ทำให้ศีล ต้องขาด ทำให้ท่านผู้รู้ไม่สรรเสริญ (อันตัณหาและทิฏฐิจับต้อง)เลอะเทอะไปด้วยกิเลสตัณหา เต็มไปด้วย(ทิฏฐิ)หลักการณ์ ใหม่ ๆ ก็เป็นไปเพื่อสมาธิภาวนา ฯว่าใคร เดี๊ยวปั๊ด ล้อตาเขียว
แข็งนิด .จังหวะ..น.๖๕ (ข้อ๘๙) อะไร ชื่อว่า ศีล ๆ มีเท่าไร ? มีอะไรสมุฏฐาน ? เป็นที่ประชุมแห่งธรรมอะไร ?
เจตนา นั่นแหละ ชื่อว่า ศีล ฯ ๆ มี ๓ คือ กุศลศีล อกุศล- อัพยากตศีล ฯ มีกุศล(จิต)เจตนาเป็นสมุฏฐาน มีอกุศล(จิต)เจตนาเป็นสมุฏฐาน มี(อัพยากตจิต)เจตนเป็นกลาง ๆ เป็นสมุฏฐาน ฯ ถ้าเป็นที่ประชุม แห่งการสำรวมระวัง ๆ ชื่อว่า อธิศีล ฯ ไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน จัดเป็นอธิจิต ฯ ท่านเห็นความบริสุทธิ์ แห่งเจตนาที่เกิดขึ้น ในความเป็นอย่างนั้น ชื่อว่า อธิปัญญา ฯ จัดเป็นสิกขา ๓ ฯ
ซัดมาก ๆ.. เมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่า ย่อมศึกษา ถ้าท่านรู้ ใครครวญดู ดูแล้ว อย่าพึ่งไปเชื่อ ทดสอบดูก่อน ถ้าเกิดศรัทธา ประครองศัทธา ให้ตั้งมั่น เมื่อตั้งมั่นแล้ว จะรู้ชัดถึงผลธรรม ด้วยปัญญา ถึงสิ่ง ที่ควรรู้ ควรฟัง ถึงสิ่ง ที่ควรกำหนด กำหนดฟัง กำหนดพูด แต่เพียงพอดี, เลื่อกเฟ้นธรรม ที่ควรละทิ้ง, คัดกรองธรรมที่ได้รู้ ได้ฟัง ทำให้แจ่มแจ้ง แล้วมั่นเจริญภาวนา ธรรมที่แจ่งแจ้งแล้ว ฯ เมื่อทำได้อย่างนี้ ชื่อว่า ศึกษา ครบหมด ทุกอย่าง ฯ
น.๖๗ (ข้อ ๙๑) แล้วจะทำให้ท่าน (กามะฉันทะ) เกิดความพอใจ ในการออก จากกามคุณ ๕ ด้วยเนกขัมมะ ๆ แปลว่า การออกจากกามคุณ ๕ ภาษาชาวบอกว่า ไปปฏิบัติธรรม คือ ออกจาก (รูป)ความหลงงมที่เป็นไปกับร่างกาย อุตส่า ไปทำทรงผมผีกระหัง,ๆ เอาสากทำหาง เอากะโด้งทำปีก เจาะหูเอาลูกมะพร้าวยัดไว้ เอาออก พูดก็เกินไปเหน๊า.
ลีฬา จังหวะอารมณ์.. (เสียง) มันเป็นงึก ๆ งัก ๆ หัวมันน่าจะหลุดไปกับความชอบใจ ฯ(ว่าเอาเอง) , ละความพยาบาท ด้วยเมตตา ไม่อาฆาต พยาบาท ฯ
(ถีนมิทธะ)ความหดหู่ถ้อแท้ จะต้องแก้ด้วย(อาโลกสัญญา)แสงสว่างทางปัญญา ฯ (อุทธัจจะ)อารมณ์กระทบกระทั่ง ที่ทำให้จิตฟุ้งซ่าน ต้องแก้ ด้วยสติ หยั่บยั่งรอกาลเวลา ฯ (วิจิกิจฉา)ความไม่ปรักใจเชื่อมั่น ต้องแก้ ด้วยการกำหนดรู้ธรรม ในธรรม ในตัวเราเอง, อวิชชา ต้องแก้ ด้วยญาณที่เกิดจากสมาธิฯ ละ(อรติ)อารมณ์ที่ไม่น่ายินดี ด้วยจิตที่ยินดีปราโมทย์ท อันเกิดขึ้นจาก(วิปัสสนาภาวนา)อารมณ์ภาวนาที่เป็นผลมาจากการใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลธรรมที่จะเกิดขึ้น ฯ ทั้งหมดนี้ เป็นสมาธิขั้น ปฐมฌาน คือการละนิวรณ ๕ ฯ
พอไปพูดมา บางที ก็มีการแวะ บ้าง เพื่อดึงจิตออกหาความร่าเริง ฯ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา ในการฟังธรรมแล้วสำรวมระวัง ชื่อว่า (สีลมยฌาน)ญาณสำเร็จมาจากศีล ฯ
ข้อ ๙๒ สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส แสดงญาณความรู้อันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ
น.๖๙ สำรวมแล้ว ตั้ง(ใจไว้ดี)กุศลจิตไว้ดี ชื่อว่า สมาธิภาวนา ฯ
สมาธิ มีอย่างเดียว คือ ความมีจิตเป็นหนึ่งเดียว ฯ มี ๒ คือ โลกิยะ กับ โลกุตตระ ฯ จะพูดก็มากไป รวมทั้งหมด มี ๕๕ สมาธิ ฟังแล้ว ถ้าคนเคยปฏิบัติ ก็พอจะรู้ได้ ฯ เอาง่ายว่า จิตไม่แสหาเรื่อง เพ่งเร่ง ยึดมั่นปฏิบัติทางสงบ เป็นสภาพเกื้อกูลนำความสุขมาให้
น.๙๕ (ข้อ ๑๓๖) ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่า โคตรภูญาณ
น.๙๕ (ข้อ ๑๓๖ โคตรภูญาณ แปลว่า ปัญญาในการกลีกออก จากสังขารนิมิตภายนอก เพราะครอบงำ อารมณ์ที่เกิดขึ้น (จากสังขารนิมิต) เหมือนกับสมาธิเกิดขึ้นแก่พวกหมอที่เรียนวิชาการทางแพทย์ จากสรีระร่างกายของคนตาย ฯ กลิ่นก็พอกลิ่น แต่ไม่ทำให้เกิด ทุกขเวทนา ฯ แต่จิต และเจตสิกแล่นเข้าหาความไม่บังเกิด ฯ
แต่อารมณ์ ที่ทำให้จิตเกิดขึ้นนั้น เป็นจิตที่ไม่เป็นไปตามสังขารนิมิตภายนอก ฯ นี้ ชื่อว่า โคตรภูญาณ ฯ ฯ
น.๙๖ (ข้อ ๑๓๙)โคตรภูญาณ มีถึง ๘ ขั้น คือ ๑ ครอบงำนิวรณ์)(กิเลสสกัดกันไม่ให้ทั้งคน ทั้งจิต บรรลุถึงความดี มี ๕ อย่างนั้นก็คือ ๑ กามคุณ ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ฯ
๒ ทำให้วิตกและวิจารดับไป เพื่อต้องการได้สมาธิขั้น ทุติยฌาน ฯ ๓ ทำให้ปีติดับไป เพื่อต้องการได้สมาธิ ชั้นตติยฌาน ฯ ๔ ทำให้สุขและทุกข์ ดับไป เพื่อต้องการได้จตุตถฌาน ฯ ๕ เป็นเพราะสุขเวทนา ทุกข์เวทนา ดับไปก่อน ตั้งแต่สมาธิ อยู่ในชั้นจตุตถฌาน พอมาถึงชั้นนี้ จึงได้ครอบงำ การกำหนดรู้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ยังไม่หมด ยังครอบงำ อารมณ์ที่เป็นเหตุก่อ ให้เกิด การกระทบกระทั่ง แห่งจิตได้ด้วย ฯ ยังไม่หมด สมาธิชั้นนี้ ยังส่งผลสูงขึ้นไป ครอบงำไปถึง (นานัตตสัญญา)สภาพที่แท้จริง ที่เป็นไปต่าง ๆ นานา ได้อีก
เอาอีกก็ได้ ครอบงำความเศร้าโศกเสียใจ ครอบงำความคับแค้น เหือดแห้งภายในใจฯ โอ๊..อานิสงส์ แห่งอานุภาพฌานสมาธิ เป็นไปเหนือกฎเกณนิมิตภายนอก ยังมีอีกมากมายกว่านี้ ฯ นี้ เป็นโคตรภูญาณอันดับที่ ๕ เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากอารมณ์กระทบกระทั่ง อันมีอยู่ใน ๘ ลำดับ จะพูดต่อไปอีก รึ. เดียวจะสูงเกิน ฯ
น.๙๘ (ข้อ ๑๔๒) โคตรภูญาณที่มีอามิส มีเหยื่อล่อ มีความหมาย ๓ อย่าง คือ ๑ วัฏฏามิส (อามิสคือการเวียนว่ายตายเกิด) ภาษาบ้านเราบอกว่า ถือว่าทำเอาบุญ ฯ ๒ โลกามิส คือ เหยื่อล่อของชาวโลก ทำเพื่อหวังได้ กามคุณ ๕ ฯ ๓ กิเลสามิส (เหยื่อล่อคือกิเลส)ทำเพื่อหวังฉวยโอกาส ฯ ในที่นี้ หมายถึงโคตรภูญาณ ฝ่ายสมถะฯ
เดิน.. ถ้าฝ่ายวิปัสสนา ที่ไม่มีเหยื่อล่อ แต่ก็มี ที่ตั้งมั่น หมายถึง นิกันติ คือมีความปรารถนา เป็นที่ตั้งมั่น ฯ เป็นสุญญตา หมายถึง(นิกันติ)ความยินดีพอใจ ในความว่างเปล่า จากกิเลส ฯ เป็นวิสุญญตา หมายถึง เป็นสภาพที่บางครั้ง บางคราว ยังมีชั่วขณะ ที่จิตปราศจาก ความปรารถนาและบางครั้งก็ฝืนใจทำ ฯ เป็น วุฏฐิตะ บางที ก็หลุด ออกจากควายินดีพอใจ ไม่ทำเลย ก็มีบ้าง ตามประสา ของปุถุชน ฯ ถ้าเป็น นิวุฏฐิตะ แล้ว เป็นสภาพที่ติดแน่น อยู่ในวิชาชีพ (อามรณ์เป็นที่ปรารถนา) ไม่ว่าจะมีอารมณ์ หรือไม่มีก็ตาม ฯ จิตจะไม่หวั่นไหวตามอารมณ์ที่เข้ามากระทบกระทั่ง ฯ
นี้ คือจิตภาวนา ที่นำอานิสงส์มามากมาย มาแบบติดต่อกันทุกระยะ โดยไม่ต้องรอพรุ้งนี้ หรือ ปีหน้า ฯ ได้กันในเดียวนั้น ฯ
น.๑๐๔ (ข้อ ๑๕๒) วิมุตติญาณนิทเทส แสดงญาณความรู้ในความหลุดพ้น
น.๑๐๔ (ข้อ ๑๕๒) ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลส เครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง อันอริยมรรคแต่ละขั้น ตัดได้แล้ว ชื่อว่า วิมุตติญาณ เป็นอย่างไร ?. เห็น (อุปกิเลส)สิ่งที่เข้าไปทำลายจิตใจของตัวเราเองให้เศร้าหมอง ๕ ประการ คือ
เป้า..๑.สักกายทิฏฐิ ความเป็นเหตุให้ถือยศถาบรรดาศักดิ์ ทำให้กลายเป็นคนจ้าวสำรวย คิดมองไปทางขวาง เห็นตนเองเป็นคนมีระดับ (ในเบญจขันธ์) ในกองแห่งขันธ์ ๕ หมดทั้งรูป ก็วางท่าทาง เวทนา ก็มีความสุขอยู่กับการเต๊ะท่า มีสัญญา กำหนดหมาย ให้คนอื่นเขามอง สังขาร ก็สรรหาปัจจัยภายนอก เรียกร้องความสนใจ ฯ วิญญาณ ก็ออกแสวงหาอาหาร ๆ แบบไหน มีแต่ปัญญาต๊อกแต๊ก อีมะโหล โต๊เต๊ ฯ ส่วน ปัญญาหากินไม่โอเค นมามิหํ นมามิหํ แปลว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อม ปัญญาหากินไม่โอเค เป็น สมาสไทย กับฝรั่ง ทุติย. ฝ่าย พหุ. อายตนนิบาต ซึ่ง. สู่. ยัง. สิ่น . แปลว่า ซึ่งปัญญาหากินไม่ได้ ท. ฯ ต๊าย ๆ ตาย ๆ ฯ
อาหาร แปลว่า ปัจจัยที่เป็นเหตุนำมาซึ่งผลของตน คือเป็นเหตุให้เกิดผลนั้น ๆ มี ๔ คือ ๑ กวฬิงการาหาร ที่กินเป็นคำ ๆ หรือเป็นแก้ว ๆ ได้แก่ โอชารส ที่เป็นเหตุทำให้เกิดึความร้อนผ้าว สามารถ( โอชัฏฐมกรูป) เป็นรูปกายชนิดต่าง ๆอ้าปาก ตาถะหลน (โอชา) เป็นที่ ๘ ฟังแล้วทดสอบทำท่าทางไปด้วย ตอนท่าสรูปท้ายไม่ต้องทำ,
๒ ผัสสาหาร อาหารคือสัมผัสสะ ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดเวทนา ส่งผลให้เกิด, ๓ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ความจงใจในการทำกรรม ซึ่งเป็นเหตุ(ให้เกิด)ให้เวียนอยู่กับที่ คือ เวียนเหมือนกับพายเรือในอ่างน้ำ ๆ คือ เบื่อรูป ก็ไปหาเสียง เบื่อเสียงก็หาอะไรมาใส่ปาก ฯลฯ ฯ ๔วิญญาณาหาร ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙ ที่เป็นเหตุให้นามรูปเกิด,ๆที่ไหน ?. ตา หู ฯ วิญญาณ เกิดที่นั้น ฯ นี้แหละ อาหาร คือปัจจัย ที่เป็นเหตุนำมาซึ่งผลของตน ฯ
เป้า.. ๒ วิจกิจฉา ความสงสัยในฐานะ ๘ อย่าง มีสงสัยในทุกข์เป็นต้น ฯ ๓ สีลัพพตปรามาส ความยึดมั่นถือมั่น (ศีลพรต) โดยสักว่า ทำตาม ๆ กันไป อย่างปราศจากปัญญา ด้วยความยึดถือนิมิตลางร้าย เป็นข้อห้าม เช่นห้ามเผาผี วันอังคาร์ เดียวมันจะตามกันมา ไปถามคนอื่นอีก ก็บอกว่า เผาผีวันพุธ มันจะกุดจะเน่า คนต่อไปก็บอกว่า วันศุกร์ มันจะเป็นทุกข์กับคนเป็น ฯ
ถ้าเป็นจริงแท้ ให้ใครต่อใครพูด ก็ต้องไปแนวเดียวกัน อย่างเช่น อายุวัฒนกุมาร เด็กที่เกิดวันนี้ จะต้องตาย ภายใน ๗ วันนี้ ไปหาพราหมณ์คนไหน ๆ ตรวจดู วัน เวลา แล้วก็บอกแนวเดียวกันหมด แต่หาวิธีแก้ไม่ได้ ฯ จึงแน่ะนำให้พราหมณ์ นำลูกเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้า ๆ ก็บอกว่า ภายใน ๗ วันเนี้ย เด็กคนนี้จะต้องตาย เนื่องมาจาก พวกผโปร่ง ผีพาย ที่อยู่ตามป่า ตามเขา ทำงานรับจ้างครบ ๗ ปี วันไหน แล้วจะขอชีวิตเด็กที่เกิดวันนั้น ๑ คน จากสำนักท้าวเวสสวัณ ๆ ให้เวลาแค่ ๗ วัน ฯ พระสัม ฯ ก็รับสั่งให้พระภิกษุ สวดพระปริตต ปกกันทุกวัน จนถึงวันที่ ๗ วันสุดท้าย พระสัม ฯ เสด็จไปเอง ฯ ผีโปร่ง ผีพาย วันไหน ก็ไม่มีโอกาสสักที ฯ วันนี้ วันสุดท้าย ต้องเอาให้ได้ ฯ แต่ก็เอาไม่ได้ ฯ พอพ้น ๗ วันไปแล้ว พราหมณ์ถามว่า เด็กคนนี้ จะมีอายุได้กี่ปี ฯ ๑๒๐ ปี แล้วจะบรรลุอรหัน ตั้งแต่ เป็นสามเณร ฯไม่ใช้บอกอีมะโล๊ก โป๊ก เป๊ก ไม่คนละทาง ๒ ทาง เหมือนกับตอกตะปู ฯ พูดแค่ ๓ ฟังง่าย ๔,๕ ยังมี
๔ ทิฏฐานุสัย กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ความคิดเห็น ที่เหมือนหอก เหมือนดาบ ออกไป ทิ้มแทงผู้อื่น ฯ ๕ ถ้าเป็นวิจิกิจฉานุสัย เป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน คือความสงสัย ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ฯ เป็นกิเลส อัน(โสดาปัตติมรรค)ทางของท่านผู้เข้าถึงกระแสแล้ว ตัดขาดได้เป็นอย่างดี ฯ จิตหลุดพ้น จาก(ปริ ยุฏฐานกิเลส) สิ่งที่กลุ้มรุมจิตใจ
๑๓๓ (ข้อ ๒๑๑) อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส แสดงญาณความรู้ในสมาธิอันมีในลำดับ
น.๑๓๓ ข้อ ๒๑๑ปัญญาในการตัดขาดจากอาสวะเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิ ชื่อว่า อานันตริกสมาธิญาณ เป็นอย่างไร ?
ซัด ๆ .เบา.ลีฬา. จังหวะ. ความไม่ฟุ้งซ่าน คือความที่จิตหยุดนิ่งรวมเป็นหนึ่งเดียว ด้วยสามารถแห่ง(เนกขัมมะ การออกจากกามคุณ) หมายถึง การปล่อยว่าง อารมณ์ฟุ้งซ่าน ภายนอก รูป เสียง กลิ่น ฯลฯ ทำจิตให้หยุดนิ่งเบาสบาย ๆ จึงชื่อว่า สมาธิ ๆ ส่งต่อให้เกิด ฯ
ญาณสมาบัติ ฯ สมาบัติ แปลว่า การประจวบพร้อมกับด้วยญาณความรู้ เท่าทันอารมณ์ ย่อมเกิดขึ้นได้ ด้วยสามารถแห่งสมาธิฯ
พอได้พบ ประสบ กับญาณความรู้ เท่าทันอารมณ์ ฯ อาสวะ ท. ย่อมถูกเผาให้สิ้นไป ด้วย(ญาณ)ความรู้เท่าทันกับอารมณ์นั้นฯ
เนื้อความธรรมะทั้งหมดนี้ ได้นำมาจากพระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ ข้อ ๑๓๖ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่า โคตรภูญาณ ฯข้อ ๑๔๓ มัคคญาณนิทเทส แสดงญาณความรู้ในมรรค ฯ ข้อ ๑๕๒ วิมุตติญาณนิทเทส แสดงญาณความรู้ในความหลุดพ้น ฯ ข้อ ๒๑๑อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส แสดงญาณความรู้ในสมาธิอันมีในลำดับ ฯ
ขอกราบขอบพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระวินัยสาทร เจ้าอาวาสวัดพระแทนศิลาอาสน์ที่ได้เอื้อเฟื้อ ถวายเวลา และอีกส่วนหนึ่ง ก็เป็นเวลาที่ทางสถานีวิทยุ อสมท. ก็ได้จัดเวลาถวายให้ตามสมควร ฯ สำหรับรายการธรรมะในวันนี้ ได้หมดเวลาลงแล้ว ฯ ขอให้ท่านผู้ฟังจงโชคดี ฯ
๗ รายวิทยุ เล่ม ๓๑
อาทิตย์ ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
ขอเจริญพร ท่านผู้รับฟัง วันนี้ แรม ๑๓ ค่ำ เป็นวันโกน พรุ่งนี้ เป็นพระแรม ๑๔ ค่ำ สิ้นเดือน ๗ มีเนื้อความในธรรมบท ภาค ๗ ว่า ในสมัยต้นปฐมโพธิกาล ไม่มีวันพระ ไม่มีการแสดงธรรมจากพระสาวก เหล่าพุทธสานิกชน ทำบุญแล้ว ก็ไปฟังธรรมที่อื่น เป็นเหตุให้พระเจ้าพิมพิสาร ทูลขอให้พุทธองค์ทรงอนุญาต ให้เหล่าพุทธบริษัท ๔ แสดงธรรมได้ เท่าที่มีสติปัญญา ฯ ณ บัดนี้ ถึงเวลา รายการธรรมะ ของวัดพระแทนศิลาอาสน์ ฯ เป็นการชี้แจงธรรมะ ในคติกถา ว่าด้วยภูมิเป็นที่ไปปฏิสนธิ เล่มที่ ๓๑
(ข้อ ๕๑๗) คติกถา ว่าด้วยภูมิเป็นที่ไป
น.๓๗๒ ในปฏิสนธิขณะ อันสัมปยุตด้วยญาณ คติสมบัติ คือการไปเกิด ในภพภูมิที่ดี ย่อมมีอุปบัติ เพราะปัจจัยแห่งเหตุ เท่าไร ? ฯ เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ ๆ มีอุบัติ ๓ ขณะ
(ขณะที่ ๑) เป็นขณะ(ชวนะ)วิถีจิต ที่ทำหน้าที่ แล่นเสพอารมณ์ อันเป็นช่วง ที่กำลังทำ กุศลกรรม มี เหตุ ๓ ประการฝ่ายกุศล (กุศลเหตุ ๓ คือ อโลภะ)ความไม่โลภ (อโทสะ)ความไม่คิดร้ายต่อใคร ๆ และ(อโมหะ)ความไม่หลง ฯ เป็น(สหชาตปัจจัย)ปัจจัยเกิดขึ้นรวมกัน แห่งเจตนาที่เกิดขึ้นใน(ขณะ)วิถีจิตแล่นเข้าไปเสพอารมณ์นั้น ฯ
ถ้าหากเป็นปฏิสนธิ ที่ไม่ประกอบด้วยญาณแล้ว จะมีเหตุเพียง ๒ ประการ ฝ่ายกุศล คือ ความไม่โลภ ความไม่คิดร้าย แต่จิตยังมากไปด้วยความหลง ที่เป็นไปตามอวิชชา ฯ
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “มีสังขาร เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัยบ้าง ฯ
(ขณะที่ ๒) พอจิตแล่นเข้าไปเสพอารมณ์แล้ว เป็นขณะแห่ง(นิกันติขณะ)ความยินดีติดใจ ปรารถนาภพ เป็นเพราะนึกถึง ความยินดีติดใจ จึงมีความฟุ่งซ่าน ๆ เป็นสักกายสมุทยอันตะ ส่วนที่ถือว่า เป็นเหตุก่อให้เกิดกายตน ๆ เกิดจาก ปุริมตัณหา ความทะยานอยาก ที่มีอยู่แล้ว แต่ชาติปางก่อน จัดเป็นอุทธัจจะนิวรณ์ ของวิญญาณ ที่ใกล้จะอุบัติขึ้น ในช่วงที่กรรม มาปรากฏ เพื่อจะให้ผล หรือในช่วงที่กรรมนิมิตหรือคตินิมิต ที่กรรมซึ่งมาปรากฏนั้น สรรค์สร้างขึ้น ฯ
เช่น เทพธิดาดอกบวบ นางทาสี จะไปหาบน้ำ เดินผ่านไป เจอดอกบวบขม เก็บคิดว่า จะเลยไป บูชาพระเจดีย์ กุศลจิตส่งไปก่อน ไม่สนใจอันตราย ถูกควายป่า แม่ลูกอ่อนขวิดตาย
มีเหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอกุศล (อกุศลเหตุ ๒ ประการ) คือ โลภ ความโลภ กับ(โมหะ)ความหลง ทั้งในปฏิสนธิ ที่ประกอบด้วยญาณ และที่ไม่ประกอบด้วยญาณ ฯ เป็นวาระขณะที่ ๒ ฯ ฯ เป็น(สหชาตปัจจัย) ปัจจัยเกิดร่วมกัน แห่งเจตนาที่ปราถนาภพ ที่เกิดขึ้นในขณะแห่งความยินดีนั้น ฯ จิตสังขาร เป็นส่วนก่อให้เกิดกายตนเอง อุบัติขึ้น ในภพใหม่ ฯ
ในช่วงนี้ ผู้ทีจวนจะตาย ก็จะเกิดความยินดี แม้แต่เปลวไฟแห่งนรกอเวจี เพราะมีจิตอากูลด้วยโมหะ เกิดร่วมกับอกุศลเจตนา ฯ
พระอินทรีย์ ถามว่า แม่น้องนาง มาจากไหน มีเครื่องสีเหลือง ล้วนแต่สำเร็จมาจากทองคำ
ฉะนั้น จึงกล่าวว่า มีสังขาร เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯ
เช่น ขอทาน เห็นเศรษฐี ให้อาหารสุนัข ตัวนอนอยู่ใต้โต๊ะ เกิดความสลดใจ ในโชควาสนาตนเอง พอถึงกลางคืน ร่างกายอ่อนล้าเกิดไป ธาตุไฟ ไม่สามารถย้อยอาหารได้ พอตายแล้ว ไปเกิด ภาษาพระเรียกว่า สักกายสมุทยอันตะ ส่วนที่ถือเอาว่า เป็นเหตุก่อให้เกิดกายตนเอง
(ขณะที่ ๓) เป็นขณะปฏิสนธิวิญญาณ จะมีเหตุอุปบัติ ๓ ประการ ฝ่ายอัพยากฤต เป็นเหตุกลาง ๆ เฉย ๆ ภาษาธรรมะเรียกว่า สักกายนิโรธอันตะ ส่วนที่ถือว่า เป็นเครื่องประดับกายตนเอง ได้แก่ภาวะนิพพาน ว่าโดยปริยาย ก็คือ ปัญญา ในอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
พอไปเกิดเป็นหมาแล้ว เศรษฐีไปวัดพาไปด้วย จึงได้ปรารถ กะพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า ท วันไหน ผมไม่มีเวลา จะให้สุนัขตัวนี้มาแทน , แล้วจีวรท่านก็เก่ามาก แก้เดินหลงทาง สุนัข ก็วิ่งไปคาบจีวรดึง ดึงไป ดึงมา จีวรขาด, โยม จะทำจีวรถวาย, งานทำจีวร ไม่ใช่งานน้อย ๆ เดียวกลับไปดูจีวรเก่า ที่พอใช้ได้ ที่วัดโน้น , พอเหาะหลีกไป, ยื่นเหาะพระ จนหัวใจแตกตาย ฯ
เป็นเหตุที่มีวิบากกรรม จำแนกแต่ละบุคคล ให้มีอัธยาสัย ชอบในการใช้ อายตนะ ๖ ตา หู ฯลฯ ไม่เหมือนกัน ได้แก่ อโลภ อโทสะ อโมหะ
จัดเป็นปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ ในขณะที่ กรรม คือ สักกายนิโรธอันตะ ส่วนที่ถือว่า เป็นเครื่องประดับกายตนเอง นั้นถือปฏิสนธิ ,ๆ ที่ประกอบญาณ ,ๆ หมายถึง ความรู้แจ้ง ที่เฉียบแหลมอย่างยิ่ง เป็น(สหชาตปัจจัย) ปัจจัยโดยความเกิดขึ้นพร้อมกัน แห่งเจตนาที่เกิดในขณะที่ ๓ นั้น ฯ
ส่วน ปฏิสนธิ ที่ไม่ประกอบด้วยญาณ จะมีเหตุ ๒ ประการ คือ อโลภ อโทสะ ฝ่ายอัพยากฤต เป็นเหตุกลาง ๆ แต่เรื่องความหลง ติดใจ ปรารถนา กามคุณ ที่เป็นไปในภพ รึ. ยังไม่รู้จักคำว่าพอดี
เช่น โทเตยยพราหมณ์ ตายแล้ว เกิดความติดใจ หวงทรัพย์สมบัติ มีจิตสังขาร เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย ไปเกิดเป็นสุนัข ที่บ้านลูกชายคนโต ฯ เห็นพระไม่ได้ ไม่ถูกกันกับพระ จนพระพุทธเจ้า ทักทวงว่า อะไรกัน นักหนา โทเตยยพราหมณ์ ตายแล้ว ยังไม่เลิกกันอีกเหรอ ? ทำให้คนในบ้านได้ยินเสียงทักทาย ฯ พอลูกชายกลับมา เอ๊.ทำไม หมาน้อย ผิดแปลกไปมาก ฯ คนในบ้าน ก็เล่าเหตุการณ์ให้ฟัง, โกรธว่า พ่อจะไปเกิดเป็นหมา ได้อย่างไร ? เอาอย่างนี้ ซิ.ตอนพ่อตายแล้ว เห็นไม้เท้าทองคำ มัย. ตอนหมา กำลัง เคลิม คออ่อนง๊อกแง๊ก. ค่อยกะซิบ ข้างหูว่า พ่อ ไม้เท้าทองคำ อยู่ที่ไหน ฯ หมา ตกใจ วิ่งไปดูที่ฝั่งไม้เท้า ฯ ที่ฝั่งขุมทรัพย์ ฯ
ส่วน ปัญญา ที่ถือว่า เป็นเครื่องประดับกายตนเอง เป็นเหตุที่มีวิบากกรรม ไม่ได้ติดตามมา เป็นสหชาต-แห่งเจตนาที่เกิดขณะนั้น เรียกว่า มีวิญญาณ เพราะนามรูปเป็นปัจจัยบ้าง มีนามรูป เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัยบ้าง ฯฯ
**เหล่านี้ คือ ปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการ มีอุบัติ ๓ ขณะ ในปฏิสนธิ อันไม่ประกอบด้วยญาณ ฯ
ฉะนั้น จึงกล่าวว่า มีวิญญาณ เพราะนามรูป เป็นปัจจัยบ้าง มีนามรูป เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัยบ้าง ฯ
*** ปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ และ ๖ ประการ มี ระยะ ๓ ขณะ เหล่านี้ ให้อะไร อุปบัติขึ้น ในขณะปฏิสนธิ ?. ให้ธรรม ๑๔ ประการ แรก อุบัติขึ้น ๔ ครั้ง
ทำนองสวด...น.๓๗๓ (ครั้งที่ ๑) เป็น (เบญจขันธ์) ขันธ์ ๕ รูป เวทนา ฯลฯ ( เป็นปัจจัยแห่งเหตุ ๔ คือ (๑)เป็น(สหชาตปัจจัย)ปัจจัยโดยความเกิดขึ้น พร้อมกัน, (๒) เป็น(อัญญมัญญปัจจัย)ปัจจัยโดยการช่วย สนับสนุน ซึ่งกันและกันในความเกิดขึ้น, (๓) เป็น(นิสสยปัจจัย) ปัจจัยโดยอาศัยการเหนี่ยวรั้งกัน หรือที่เรียกว่า ปัจจัยยึดเหนี่ยว, (๔) เป็น(วิปปยุตตปัจจัย) ปัจจัยโดยการแยกส่วนต่างหากจากกัน หรือเรียกว่า ปัจจัยแยกส่วน ฯ )
(ครั้งที่ ๒) เป็นมหาภูตรูป ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ( เป็นปัจจัยแห่งเหตุ ๓ คือ (๑) เป็น(สหชาตปัจจัย)ปัจจัยโดยความเกิดขึ้น พร้อมกัน (๒) เป็น(อัญญมัญญปัจจัย)ปัจจัยโดยการช่วย สนับสนุน ซึ่งกันและกันในความเกิดขึ้น, (๓) เป็น(นิสสยปัจจัย) ปัจจัยโดยอาศัยการเหนี่ยวรั้งกัน หรือที่เรียกว่า ปัจจัยยึดเหนี่ยว ),
(ครั้งที่ ๓) (เครื่องปรุ่งชีวิต ๓ ประการ) ชีวิตสังขาร องค์ประกอบแห่งชีวิต ๓ ประการคือ ๑ อายุ ได้แก่ รูปชีวิตอินทรีย์และอรูปชีวิตอินทรีย์ , ๒ ไออุ่น ได้แก่ โตโชธาตุ , ๓ วิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ
( เป็นปัจจัยแห่งเหตุ ๔ (๑) เป็น (สหชาตปัจจัย) ปัจจัยร่วมส่วน, (๒) เป็น(อัญญมัญญปัจจัย)ปัจจัยสนับสนุน, (๓) เป็น(นิสสยปัจจัย)ปัจจัยอาศัยการเหนี่ยวรั่ง (๔) เป็น(วิปปยุตตปัจจัย) ปัจจัย โดยควาแยก ส่วนออกไปต่างหากจากกัน หรือ ปัจจัยแยกส่วน,)
น.๓๗๔(บน) (ครั้งที่ ๔ ) นามและรูป เป็นปัจจัย ๔ เหมือนกัน ฯ ฯ เหล่านี้ คือ ธรรม ๑๔ ประการ แรก เป็นเหตุก่อให้เกิดกายตนเอง ทั้งปฏิสนธิ ที่ประกอบด้วยญาณ และไม่ประกอบด้วยญาณ ฯ
ต่อไป เป็น ๑๔ ประการ หลัง ปฏิสนธิ มีอุบัติขึ้น ๔ ครั้ง
**** ตรวจสอบใหม่ ..(ครั้งที่ ๑) เป็นขณะปฏิสนธิ ที่ประกอบด้วยญาณ และไม่ประกอบด้วยญาณ อรูปขันธ์ ๔ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น(สหชาตปัจจัย) ฯลฯ เป็น(สัมปยุตตปัจจัย) ปัจจัย โดยการประกอบส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
(ครั้งที่ ๒ ) เป็นปฏิสนธิ ที่ประกอบด้วยญาณ มีเหตุ ๓ ประการ ฝ่ายอัพยากฤต อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นเหตุกลาง ๆ แต่เป็นวิบาก ที่มีเวร มีกรรม
ส่วนปฏิสนธิ ที่ไม่ประกอบด้วยญาณ นั้น มีเหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอกุศล ได้แก่ ความโลภ กับ ความหลง ๆ จนไม่รู้ว่า แบบไหนดี –ชั้ว เป็น(สหชาตปัจจัย)ฯลฯ เป็นสัมปยุตตปัจจัย
เช่น พระติสสะ ปรารถนา อยากจะทำจีวร ตัวพี่สาวท่าน เห็นว่า ผ้าที่จะใช้ทำ น่าจะเป็นผ้าที่ดีกว่านี้ จึงเปลี่ยนผ้าใหม่ให้ ฯ เกิดความหลง ดีอกดีใจ พอกลางคืน ธาตุไฟ ไม่ปกติ ทำให้ท่านมรณภาพ
พอมรณภาพแล้ว เป็นวาระขณะที่ ๒ ปฏิสนธิวิญญาณ ที่ไม่ประกอบด้วยญาณ ฝ่ายอกุศล โลภ กับหลง ภาษาบาลี คือ นิกันติ ความติดใจปราถนา จัดเป็นปุริมตัณหา ภาษาพระอภิธรรมเรียกว่า สักกายสมุทยอันตะ ส่วนที่ถือเอาว่า เป็นเหตุก่อให้เกิดกายตนเอง จึงส่งผล จิตสังขาร ไปเกิดเป็นเล็น ที่จีวร ฯ
หวง เห็นพระเข้าใกล้จีวรไม่ได้ ร้องตะโกนรัน เป็นเพราะเหตุอุบัตลำดับที่ ๓ ฝ่ายที่ถือว่า เป็นเครื่องประดับกายตนเอง ไม่ได้ติดตามมา ฯ
(ครั้งที่ ๓ ) เป็นนามและวิญญาณ ทั้ง ๒ นี้ ในปฏิสนธิ ทั้ง ๒ ฝ่าย แล้วแต่ใคร จะนำไปก่อน ถ้านามไปก่อน วิญญาณ ก็จะตามไป ถ้าวิญญาณไปก่อน นามก็จะน้อมไปทางนั้น สุดแต่บุญกรรม เป็น(สหชาตปัจจัย)ฯลฯ เป็นสัมปยุตตปัจจัย ฯ
***ปกติเป็นครั้งที่ ๒***(น.๒๙๘ ข้อ ๔๓๖) (ครั้งที่ ๔ ) เป็นอินทรีย์ ๕ ในปฏิสนธิ ทั้ง ๒ ฝ่าย ๆ คือ ๑ ศรัทธาอินทรีย์ จะพึงเห็นได้ใน(โสตาปัตติยังคะ ๔) หมายถึง องค์ธรรมส่วนเบื่องต้นอันเป็นเหตุให้ได้บรรลุความเป็นพระโสดาบัน ๔ ประการ ซึ่งจำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทที่ ๑ ได้แก่ (๑) การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า, (๒)-ในพระธรรม, (๓) –ในพระสงฆ์ , (๔) การประกอบด้วยอริยศีล ฯ
ประเภทที่ ๒ (๑)สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ, (๒)สัทธัมมัสสวนะ การฟังคำสั่งสอนของท่าน, (๓) โยนิโสมนสิการ การทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ, (๔) ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรฒ ฯ ครบองค์ธรรม ๔ ในศรัทธาอินทรีย์ ฯ
(๒) วิริยอินทรีย์ พึงเห็นได้ ในสัมมัปปธาน ๔ ฯ คือ ๑,พอเกิดศรัทธาแล้ว รู้เหตุเกิดความคำนึงถึง เพื่อประโยชน์ แก่การประครอง ความเพียร พยายามชอบ อย่าให้บาปอกุศลเกิดขึ้น ,
๒ รู้เหตุแห่ง(ฉันทะ)ความพอใจ ๆ ในการประคับประครอง พยายามอย่าให้บาปกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นมาแล้ว ก็อย่าให้เกิด ขึ้นมา เพิ่มอีก,
๓ ขอจับประเด่นธรรมนี้ เข้ากับจิตภาวนา รู้เหตุ แห่งจิตภาวนา เกิด(มนสิการ)การ ใส่ใจถึง จิตภาวน ที่เกิดขึ้น มาแล้ว,
๔ ความปรากฏ แห่งจิตภาวนา ทุกขั้นตอน เป็นธรรมอย่างเดียวกัน กับเหตุ ให้เกิดขึ้น แห่งวิริยอินทรีย์ ฯ
โยมจะฟังออกมัย หน๊อ. ถ้าพระน่าจะฟังรู้เรื่อง
(๓) สติอินทรีย์ พึงเห็นได้ในสติปัฏฐาน ๔ ฯ คือ ๑.พอจิตภาวนาเกิดขึ้นแล้ว, จะรู้ว่า มีเหตุเกิด แห่งความคำนึงถึง เพื่อประโยชน์ แก่ความตั้งมั่นแห่ง(สติปัฏฐาน)หลัก ที่สติ เข้าไป ตั้งมั่น คือ การพิจารณาเห็นกาย ในกาย กายตัวนี้ คือ กายที่อยู่ในธรรม ,
๒ รู้ว่า เหตุเกิดแห่ง(ฉันทะ)ความพอใจมาจากหลัก ที่สติ เข้าไปตั้งมั่น คือ การพิจารณาเห็น เวทนา ใน เวทนา ว่า ขณะจิตของเรากำลังเสวยอารมณ์ เวทนาฝ่ายไหน เป็นสุขหรือทุกข์ หรือว่า เป็นอุเบกขาเวทนา ฯ
๓ ย่อมรู้เหตุเกิด แห่ง(มนสิการ)การใส่ใจ ที่สติปัฏฐาน เข้าไป ตั้งมั่น จึงเป็นเหตุเกิด ให้พิจารณา เห็น จิตในจิต ว่า ขณะนี้ จิตภายนอก ฟุ้งซ่าน จิตนิ่ง ภายใน,
๔ ความปรากฏถึงธรรมในธรรม ในสติปัฏฐาน ๔ ทั้งกาย เวทนา จิต ธรรม ว่า เป็นธรรมฝ่ายดำ หรือฝ่ายขาว ที่กำลังเป็นไป ฯ เหล่านี้ คือ การรู้ เหตุเกิด แห่งสติอินทรีย์ ฯ
น.๒๘๗ เมื่อมีจิตมั่นคงในสติปัฏฐาน ๔ ดีแล้ว ต่อไป
น.๓๐๑ (ข้อ ๔๔๑) สมาธิอินทรีย์ พึงเห็นได้ในฌาน ๔ ด้วยความหมายว่า ไม่มีความฟุ้งซ่าน ในปฐมฌาน ๆ ไม่มีนิวรณ์ ๕,
ทุติย ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา เป็นไปเพื่อประโยชน์ แก่การได้ปฐมฌานเท่านั้น เพราะฉะนั้น ทุติย. จึงไม่มีวิตก วิจาร , ตติยะ ออกจากปีติ, จตุตถฌาน ออกจากสุขและทุกข์ ฯ
น.๓๐๒ (ข้อ ๔๔๒) ปัญญาอินทรีย์ พึงเห็น ความประพฤติได้ ในอริยสัจ ๔ ด้วยความหมายว่า เป็นใหญ่ในการเห็น อริยสัจ คือ ทุกข์ ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความสลัดทิ้ง ความเพลิดเพลิน ยินดี ในภพ เป็นความดับทุกข์ ปฏิปทา เป็นเครื่องดำเนินไปถึง ความดับทุกข์ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ฯ
๑.ย่อมรู้เหตุเกิด แห่งการคำนึงถึง หนทาง ที่จะดำเนิน อีกต่อไป คือ อริยมรรค มีองค์ ๘ เพื่อประโยชน์ แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน นั้นก็คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นโทษในกามคุณ ๕ เป็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ,
๒ จึงเกิด สัมมาสังกัปปะ ความดำริที่ จะออก จากกามคุณ ๕ ที่เรียกว่า เนกขัมมะ ตามกำลัง สติปัญญา,
๓ ทางวาจา (สัมมาวาจา) คือ วจีกรรม ๔ , ๔ สัมมากัมมันตะ เป็นกายกรรม ๓ พูดไป พูดมา มีแต่ภาษา ธรรมฯ ขอแวะบ้างก็ไม่ได้,
(๒) ย่อมรู้เหตุเกิดแห่ง(ฉันทะ)ความพอใจ ที่ดำเนิน ตามทางอริยมรรค พอใจกับความไม่ฟุ้งซ่าน, (๓) รู้เหตุแห่งมนสิการ ที่เป็นเหตุ ให้หาย ความฟุ้งซ่าน ,
(๔) ความที่อริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวกัน ฯ เหล่านี้ คือ ย่อมรู้เหตุเกิดแห่งสมาธิ,อินทรีย์ ๆ เกิดแล้ว เนินไป ตามทางนี้
นี้คือ อินทรีย์ ๕ ในบรรดาธรรม ๑๔ ประการ หลัง สำหรับปฏิสนธิ อันประกอบด้วยญาณ ได้แก่ สักกายนิโรธอันตะ ส่วนที่ถือว่า เป็นเครื่องประดับกายตนเอง ได้แก่ภาวะนิพพาน ว่าโดยปริยาย ก็คือ ปัญญาอินทรีย์ ในอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ฯ
ถ้าเป็นปฏิสนธิ ที่ไม่ประกอบด้วยญาณ ยกเว้นปัญญาอินทรีย์ เว้นจากปัญญา อินทรีย์ มีความหมายว่า กิจที่ทำหน้าที่หลัก ปัญญา หมายถึง ให้รู้ชัด ถึงผลกรรม ที่ทำไปแล้ว ว่าจะเกิดผลอะไรตามมา ฯ เหตุปัจจัย อย่างนี้ ไม่มี ในปฏิสนธิ อันไม่ประกอบด้วยญาณ ฯ ภาษาพระเรียกว่า ไม่มีความรู้ในอริยสัจ ๆ เป็นของแท้ ไม่ผิดแน่นอน ไม่มี ที่จะกลายเป็นอย่างอื่น ที่ชื่อว่า ทุกข์ มีอธิบายว่า บีบคั้น ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งให้หลง ก่อความเดือดร้อน มีอรรถว่า แปรปรวน เปลี่ยนแปลงไม่อยู่กับร้องกับรอย ฯ
จึงทำให้เกิดมี ธรรม ที่ไม่เหมือนกัน ในปฏิสนธิ อันไม่ประกอบด้วยญาณ เป็น ๑๒ ประการหลัง มีอุบัติ ๔ ครั้ง
เล่ม ๓๑ น.๓๐๕ ข้อ ๔๔๘) พึงเห็นความประพฤติเพราะเว้นขาดจากปัญญาอินทรีย์ ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในความมองไม่เห็น อริยสัจคือทุกข์ ด้วยอรรถว่า น้อมใจเชื่อ ในสิ่งที่ไร้สาระ (วิริย-สติอินทรีย์) ประคับประครอง ตั้งอกตั้งใจ หมกหมุ่น อยู่กับสิ่ง ที่ไม่ก่อให้เกิดวิชชา ฯ การที่คนเรา ไม่รู้ชัดถึงผลกรรม ที่ทำไปแล้ว ว่าจะเกิดผลอะไรตามมา เป็นผลมาจาก การขาด สักกายนิโรธอันตะ ส่วนที่ถือว่า เป็นเครื่องประดับกายตนเอง ได้แก่ ปัญญาอินทรีย์ ๆ ตัวนี้ เป็นสหชาต- เป็นอัญญมัญญ- เป็นนิสสย- เป็นสัมปยุตต-ฯ
เหล่านี้ คือ ๑๒ ประการหลัง ฯ เป็นเหตุ ให้ผล ในปฏิสนธิขณะ อันไม่ประกอบ ด้วยญาณ ทุกชั้นวรรณะ ฯ
***โอ๊ย ๆ ๆ กำหนดธรรมในธรรม เกือบจะบ้าตายแล้ว ฯ
ไม่เอา ขี้เกียจไปเกิด จะทำอย่างไง ?
น.๑๑ เชิงอรรถ) นิททสวัตถุ ๗ เหตุที่ทำให้เป็นผู้ไม่เกิดอีกต่อไป หมายถึง เหตุให้ภิกษุ ได้ชื่อว่า นิททสะ ผู้ปราศจาก ๑๐ ปี ผู้ไม่มี ๑๐ ปีอีกต่อไป นิพพีสะ ผู้ปราศจาก ๒๐ ปี นิตตึงสะ ผู้ปราศจาก ๓๐ ปี เป็นต้น
กล่าวกันว่า ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนิททสะ เป็นต้นนี้ เกิดขึ้นในลัทธิเดียรถีย์ โดยพวกเดียรถีย์ ให้เรียกนิครนถ์ ผู้หนึ่ง ซึ่งสมาทานข้อวัตร์ปฏิบัตมีกำหนด ๑๒ ปี แต่ได้เสียชีวิต เมื่อประพฤติได้ ๑๐ ปี ว่า นิททสะ ฯ
ซึ้งมีความหมายว่า นิครนถ์ผู้นั้น ถ้ากลับมาเกิดในโลกมนุษย์อีก สมาทานข้อวัตรปฏิบัติ จะใช้เวลาปฏิบัติ แค่ ๑ ปี หรือ ๒ ปี
ท่านพระอานนท์ ฟังเรื่องนี้แล้ว นำความมากราบทูลถามฯ พระผู้ ฯ ตรัสในความหมายใหม่ว่า คำว่า นิททสะ เป็นต้นนี้ เป็นคำเรียก พระอรหันตขีณาสพ เพราะเมื่อท่านปรินิพพาน ในขณะที่ท่านมีอายุได้ ๑๐ ปี ก็ชื่อว่า เป็นผุ้ไม่มีอายุ ๑๐ ปี อีกต่อไป แม้แต่ ๑ ปี ๑ เดือน ๑ วัน ชั่วกาลครู่เดียวก็ไม่มี
ทั้งนี้ เพราะพระอรหันตขีณาสพ ไม่มีการปฏิสนธิจิต อีกต่อไป ดังนั้น นิททส จึงหมายถึง ผู้ที่ไม่มีการบังเกิดใหม่ อีกต่อไป
โดยต้องประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ คือ (๑) เป็นผู้มีฉันทะแรงกล้าในการสมาทานสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งเป็นผู้ยังไม่หมดความรักในการสมาทานสิกขา อีกต่อไป ฯ (๒)-ในการไตร่ตรองธรรม ทั้งเป็นผู้ยังไม่หมดความรักในการไตร่ตรองธรรม อีกต่อไป ฯ (๓)-ในการกำจัดความอยาก ทั้งเป็นผู้ยังไม่หมดความรักในการกำจัดความอยาก อีกต่อไป ฯ (๔) –ในการหลีกเร้น ทั้งเป็นผู้ยังไม่หมดความรักในการหลีกเร้น อีกต่อไป ฯ (๕) –ในการบำเพ็ญเพียร ทั้งเป็นผู้ยังไม่หมดความรักในการบำเพ็ญเพียร อีกต่อไป ฯ (๖) –ในสติและปัญญาเครื่องรักษาตัว ทั้งเป็นผู้ยังไม่หมดความรักในสติและปัญญาเครื่องรักษาตัว อีกต่อไป ฯ (๗)-ในการแทงตลอดซึ่ง(ทิฏฐิ) มัคคทัสสะ การเห็นประจักษ์ ด้วยอริยมรรค ทั้งเป็นผู้ยังไม่หมดความรักในการแทงตลอด(ทิฏฐิ)ซึ่ง(ทิฏฐิ) มัคคทัสสะ การเห็นประจักษ์ ด้วยอริยมรรค อีกต่อไป ฯ (รายละเอียด เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๓๑ ๓๔๕ ๓๔๖
เนื้อความธรรมะทั้งหมดนี้ ได้นำมาจากพระไตรปิฏก เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๐๕ คำ ว่า อัทธา ๓ ระยะกาล เล่มที่ ๓๑ (ข้อ ๒๔๖ ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส แสดงญาณความรู้ในการหลีกออก ๖ อย่าง ฯ ข้อ ๓๗๐ โวทานญาณนิทเทส แสดงญาณความรู้เป็นเหตุทำให้จิตผ่องแผ้ว ฯ) ข้อ ๕๑๗ คติกถา ว่าด้วยภูมิเป็นที่ไป ฯ
สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาค้นคว้าก็สามารถศึกษาได้จากพระไตรปิฏกทั้งฉบับคอม ฯ และฉบับบันทึกเป็นอักษร ฯ
ขอกราบขอบพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระวินัยสาทร เจ้าอาวาสวัดพระแทนศิลาอาสน์ที่ได้เอื้อเฟื้อ ถวายเวลา และอีกส่วนหนึ่ง ก็เป็นเวลาที่ทางสถานีวิทยุ อสมท. ก็ได้จัดเวลาถวายให้ตามสมควร ฯ สำหรับรายการธรรมะในวันนี้ ได้หมดเวลาลงแล้ว ฯ ขอให้ท่านผู้ฟังจงโชคดี ฯ
๘ รายวิทยุ เล่ม ๓๑
อาทิตย์ ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๘
ขอเจริญพร ท่านผู้รับฟัง อาทิตย์ ที่ ๒๑ มิถุนายน ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๘ มีเนื้อความในธรรมบท ภาค ๗ ว่า ในสมัยต้นปฐมโพธิกาล ไม่มีวันพระ ไม่มีการแสดงธรรมจากพระสาวก เหล่าพุทธสานิกชน ทำบุญแล้ว ก็ไปฟังธรรมที่อื่น ไม่มีการเข้าพรรษา เป็นเหตุให้พระเจ้าพิมพิสาร ทูลขอให้พุทธองค์ทรงอนุญาต ให้มีวันพระ ให้เหล่าพุทธบริษัท ๔ แสดงธรรมได้ ตามกำลังสติปัญญา ฯ
ณ บัดนี้ ถึงเวลา รายการธรรมะ ของวัดพระแทนศิลาอาสน์ ฯ เป็นการชี้แจงธรรมะในเรื่องของอินทรีย์ ๕ เล่มที่ ๓๑ ต่อจาก อาทิตย์ ที่ ๑๔ มิถุนายน ๕๘ ว่าทำไม อินทรีย์ ๕ ถึงได้เป็นปัจจัยแห่งเหตุ ทำให้สัตว์ถือปฏิสนธิขึ้นมาแล้ว ศึกษาเท่ากัน แต่ทำไม ถึงรู้ไม่เท่ากัน ทำอะไรได้ไม่เหมือนกัน
ธรรม ๑๔ ประการแรก ก่อเกิดตายตนเอง ต่อไป เป็น ๑๔ ประการ หลัง เป็นเครื่องประดับกายตนเอง ปฏิสนธิวิญญาณ มีอุบัติขึ้น ๔ ครั้ง
**** ตรวจสอบใหม่ ..(ครั้งที่ ๑) เป็นขณะปฏิสนธิ ที่ประกอบด้วยญาณ และไม่ประกอบด้วยญาณ อรูปขันธ์ ๔ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น(สหชาตปัจจัย) ฯลฯ เป็น(สัมปยุตตปัจจัย) ปัจจัย โดยการประกอบส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
(ครั้งที่ ๒ ) เป็นปฏิสนธิ ที่ประกอบด้วยญาณ มีเหตุ ๓ ประการ ฝ่ายอัพยากฤต อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นเหตุกลาง ๆ แต่เป็นวิบาก ที่มีเวร มีกรรม
ส่วนปฏิสนธิ ที่ไม่ประกอบด้วยญาณ นั้น มีเหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอกุศล ได้แก่ ความโลภ กับ ความหลง ๆ จนไม่รู้ว่า แบบไหนดี –ชั้ว เป็น(สหชาตปัจจัย)ฯลฯ เป็นสัมปยุตตปัจจัย
เป้า.. เช่น พราหมณ์ มหาศาล คนหนึ่ง เกิดความหลงใหลยินดี ในทรัพย์สัมบัติ ๘๐ โกฏิ และไม้เท้าทองคำ พอตายแล้ว
เป็นขณะวาระที่ ๓ ปฏิสนธิวิญญาณ ไม่ประกอบด้วยญาณ ฝ่ายอกุศล โลภ กับหลง ภาษาบาลี คือ นิกันติ ความติดใจปราถนา จัดเป็นปุริมตัณหา จึงส่งผลให้(สังขาร)จิตถูกปัจจัยภายนอกปรุงแต่ง ให้บังเกิดเป็น สุนัข ที่บ้านลูกชายคนโต ภาษาอภิธรรมเรียกว่า สักกายสมุทยอันตะ ส่วนที่ถือเอาว่า เป็นเหตุก่อให้เกิดกายตนเอง
เขาเรียกว่า มีวิญญาณ เพราะนามเป็นปัจจัย บ้าง มีนาม เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยบ้าง ฯ เห็นพระไม่ได้ ไม่ถูกกันกับพระตั้งแต่ชาติที่แล้วมา เป็นเพราะเหตุอุบัติ ๒ ประการ ฝ่ายอกุศล คือ โลภกับหลง
จนพระพุทธเจ้า ตรัสว่า อะไรกันหนัก หนา พราหมณ์ เกิดใหม่แล้ว ยังไม่เลิกรากันอีก ฯ
ลูกชายโกรธ หาว่า พ่อไปเกิดเป็นหมา ฯ ถ้าไม่เชื่อ ตอนหมา ง่วงสลำสะลือ คอพับ คอเอียง รองกระชิบถามข้างหู ว่า ทรัพย์ ๘๐ โกฏิ กับไม้เท้าทองคำ อยู่ที่ไหน ? มันหวง ลืมสติ รีบวิ่งไปดู ฯ
เล่ม ๑๑ น๑๑๙ (ข้อ ๑๔๗) การก้าวลงสู่ครรภ์มารดา
ความยอดเยี่ยมนั้น ยังมี อีกข้อหนึ่ง คือ การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔ ประการ คือ
(๑) สัตว์ บางชนิด ในโลกนี้ ไม่รู้สึกตัว ขณะก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัว ขณะอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดออกจากครรภ์มารดา
(เชิงอรรถ น.๓๐๔) เป็นการถือกำเนิด ของมนุษย์ทั่วไป
(๒) สัตว์บางชนิด ในโลกนี้ รู้สึกตัว ขณะก้าวลง สู่ครรภ์มารดาอย่างเดียว แต่ไม่รู้ สึกตัว ขณะอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์มารดา
(เชิงอรรถ น.๓๐๔) เป็นการถือกำเนิด ของเหล่าพระอสีติ มหาสาวก ฯ
ลีฬา เป้า... เช่น พระ................................................ ตอนที่อยู่ในท้อง แม่เกิดเสียชีวิต เอาไปเผาที่ป่าช้า หัวหน้า สัปเหร่อ บอกให้พวกลูกน้อง ไปอาบน้ำกินข้าว. จะทำหน้าที่ดูแลเอง เผาอย่างไง ตรงท้อง ก็ไม่ไหม้ เป็นเพราะฤทธิ์แห่งบุญญาธิการของเด็ก ปกแผ่คุ้มครอง จึงเอาปลาย หลาวเสียบทุละ เอาไปโดนตาเด็กที่อยู่ในท้อง เขียเด็กออกมานอน บนกองถ่านกำลังแดงฉาน เหมือนดอกชบา ถามว่า โดนไม้เสียบโดนตาแตก ออกจากท้องแม่ เด็ก รู้สึกต้ว มัย? ร้อน มัย . ไม่รู้สึกตัว ฯ นี้แหละ ความยอดเยี่ยม ๔ ประการ ฯ ในเล่ม ๑๑ ข้อ ๑๔๗ และอุปมาเปรียบเทียบ ธรรมบท ภาค..... เรื่อง.........
(๓) สัตว์บางชนิด ในโลกนี้ รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัวขณะอยู่ในครรภ์มารดา แต่ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดออกจากครรภ์มารดา
(เชิงอรรถ น.๓๐๔) เป็นการถือกำเนิดของพระอัครสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้า ฯ
(๔) สัตว์บางชนิด ในโลกนี้ รู้สึกตัว ขณะก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัว ขณะอยู่ ในครรภ์มารดา รู้สึกตัว ขณะคลอด จากครรภ์มารดา ฯ (เชิงอรรถ น.๓๐๔) เป็นการถือกำเนิดของพระพุทธเจ้า ฯ
***ปกติเป็นครั้งที่ ๒***(น.๒๙๘ ข้อ ๔๓๖) (ครั้งที่ ๔ ) เป็นอินทรีย์ ๕ ในปฏิสนธิวิญญาณที่ประกอบด้วยญาณ ฯ อินทรีย์ ๔ ในปฏิสนธิที่ไม่มีญาณ เพราะไม่มีปัญญาอินทรีย์ ส่วนที่ถือว่า เป็นเครื่องประดับกายตนเอง ฯ
ปัญญาอินทรีย์ ปัญญา นี้แหละ ภาษาอภิธรรม เรียกว่า สักกายนิโรธอันตะ ส่วนที่ถือเอาว่า เป็นเครื่องประดับกายตนเอง ฯ
ข้อ ๔๓๖อินทรีย์ ๕
เป้า.. น.๒๙๘ เรื่องอินทรีย์ ๕ สูตรที่ ๑ ท่านพระสารี ฯ ได้ฟังมาว่า ตามปกติ ในพระสูตรจะเป็นพระอานนท์ , ที่พระวิหารเชตะวัน ใกล้พระนครสาวัตถี อินทรีย์ ๕ ประการ นี้ ย่อมหมดจด ด้วยอาการ เหล่านี้ คือ
ให้หลีกเว้นพวกบุคคล ผู้ที่เขาไม่มีศรัทธา ผู้เกียจคร้าน, ให้พิจารณา(พระสูตร)คำสอน คำเตือน อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส่ ฯ(สัมปธาน) เพียรพยายามทางดี ๆ ฯ ศรัทธาอินทรีย์ วิริยอินทรีย์ ย่อมหมดจด ด้วยอาการ เหล่านี้ ฯ
๑ ให้หลีกเว้นพวกบุคคลเสียสติ(ผู้มีใจมีใจไม่มั่นคง) ผู้ที่พอได้ยินเขาว่า ก็เชื่อตามที่เขาว่า จริงเท็จ ประการใด ตัดสินผิดถูกไปแล้ว ด้อยอับ อาพรับปัญญา ไปคบค่าสมาคม ใกล้ชิดพวกบุคคลผู้ที่เขามีสติตั้งมั่น, ใจมั่นคง มีปัญญาญาณ ๓ ให้พิจารณาสติปัฏฐาน ฯสมาธิญาณและ(วิโมกข์)ความหลุดพ้นแห่งจิต ฯ ให้พิจารณาเห็นจริยาอันลึกซึ้งได้ ฯ สติอินทรีย์ สมาธิอินทรีย์ ปัญญาอินทรีย์ ย่อมหมดจด ด้วยอาการ เหล่านี้ ฯ
***ตรวจความหมายศัพท์ใหม่
เป้า.. น.๒๘๗ เมื่อสมาธิเกิดแล้ว ญาณสมาบัติก็จะตามมา คำว่า ญาณ มาจาก ญา ธาตุ ในความรู้ แปลว่า ความรู้เห็น อย่างเฉียบแหลม ฯ ฌาน มาจาก ฌา ธาตุ ในการเผา
น.๓๓๙ (วรรคแรก) แล้งจะเกิด ยถาภูตญาณ การพิจารณาเห็น ความว่างเปล่า ตามที่ เป็นจริง ในรูป ฯ ถ้าพ้น ไปจากความยึดมั่น ที่ก่อเกิด(อวิชชา)ความโลภ โกรธ หลง ชื่อว่า ญาณวิโมกข์ ฯ พ้นไปจาก ชรา มรณะ โศกเศร้า เสียใจ เป็นเพราะรู้เท่าทันอารมณ์,
เป้า.ภาษาโคราช. พระลูกน้อง ของมหาโมค ฯ สึกแล้ว เขาไล่ออกจากบ้าน เพราะขี้เกี้ยจ ออกไปคบคนขี้เกียจ เป็นโจร ถูกทางการจับได้ ตอนที่แห่ จะเอาไปตัดหัว เป็นจังหวะพอดี ที่พระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปบิณฑบาต จึงเตือนสติ ให้หวนนึกถึงกัมมัฏฐานเก่า
จึงทำให้นักโทษ เกิดการการปล่อยว่าง ปฏิฆารมณ์ อารมณ์ กระทบกระทั่งจิต ทำให้มองเห็น ว่า ชีวิต อยู่ต่อไป น่าสอิดสะเอือน คลายความกำหนัดยินดี กับร่างกาย มีชีวิตอยู่ต่อไป ก็เป็นที่สั่งสม แห่งโทษ บาปหนา มากมาย มองเห็น ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของว่างเปล่า ฯ
ภาษาโคราช.. พระเจ้าปเสนทิโกศล เห็นอาการ เอ้. เจ้าหมอนี้ แปลกโว๊ย. ให้นำตัว เข้าเฝ้าทูลถาม พระสัม ฯ ว่า ทำไม เจ้าหมอนี้ ถึงไม่กลัว ฯ บอกว่า คนผู้นี้ หมดความยึดมั่นถือมั่น ไม่สุข ไม่ทุกข์ มีอุเบกขา อยู่อย่างเป็นสุขแล้ว ฯ สาธุ. ถ้าอย่างนั้น ขอให้ท่านได้บวชปฏิบัติธรรมต่อไปเถิด ฯ
น.๓๔๑ (ข้อ ๔๘๓) ฌาน เผาไหม้อวิชชา, เนกขัมมะชื่อว่า ฌาน เป็นเพราะปฐมฌาน เผาไหม้ กามฉันทะฯ ผู้เผาไหม้ ย่อมพ้นไป ฉะนั้น จึงชื่อว่า ฌานวิโมกข์ ฯ การมีสติกำหนด ย่อมเผาไหม้ วิจิกิจฉา, ปฐมฌาน เผาไหม้ นิวรณ์, ทุติยฌาน เผาไหม้ วิตก วิจาร, ตติยฌาน เผาไหม้ ปีติ, จตุตถฌาน เผาไหม้ สุขและทุกข์ ฯ
****ตรวจความหมายศัพท์ใหม่
ยาน.เป้า.. (ฌายีบุคคล) บุคคล ผู้เพ่ง(ฌาน)การเผาข้าศึกคือกิเลส ฯ คำว่า เพ่ง ๆ เพื่อที่ จะเลือกเอาปลิโพธ ออกไปเผาทิ้ง ฯ ถ้าเป็นความเข้าใจ ของชาวบ้าน เพ่งฌาน อยากจะเอา เอาให้มีฤทธิเดช นั้นเป็น อภิชฌา เพ่งเล่ง เพราะหาทาง เผื่อว่า จะมีผล พลอยได้อะไร บ้าง ที่เกิด จากการฤทธิ์ เพื่อตนเอง ฯ ฌาน เพ่งเล่งมุ่งจะเผาทิ้ง ฯ
แข็ง กะซับ.. เช่น เวรัญชพราหมณ์ กล่าวหาพระพุทธเจ้าว่า เป็นคนมักเผาผาล ผู้เฒ่า ผู้แก่ โดยการ ไม่ยอมกราบไหว้ ตามลำดับอายุ ฯ พระสัมมา ฯ ยอมรับ ว่า เป็นผู้มักเผาผาล จริง แต่เป็นการเผาผาล ทางด้านฌานสมาบัติ ๆ แปลว่า ผู้ประจวบพร้อม ด้วยการเผาผาล ฯ
ผู้ไม่ยอมกราบไหว้ เป็นผู้เผาผาล คนแก่อายุ จริง แต่ว่า การเกิด โดยชาติอริยนี้ ยั่งไม่มีผู้ใด เกิดก่อนเรา ฉะนั้น เราจึงชื่อว่า เป็นผู้มีอายุมากกว่า ฯ
เหมือนกับ ไก่ เกิด ๒ หน ไก่ ที่ฟัก ออกจากฟองไข่ ได้ก่อน สมควร จะเรียกว่า ตัวพี่ ฯ ผู้ที่ออกจากกระเบาะฟองไข่คืออวิชชา ได้ก่อน ก็สมควรืจะเรียกว่า พี่ใหญ่ฯ ฉะนั้น คำกล่าวหา ของท่าน จึงสมควร ด้วยเหตุผลนี้ ฯ
เป้า ลาว. ไม่ใช้เผาแบบ พระกับอาจารย์ ขี้เกี้ยจ พาพระลูกน้องออกเดินธุดงค์ ได้สถานที่เหมาะสม ให้โอวาท ตั้งใจประพฤติบัติ อย่างเห็นแก่หลับนอน ขี้ค้าน เดียวเสือ มันซิมา. หาบหัวหมู่ จ้าว.เด๊อ. ฯ พอบอกเขาแล้ว ตัวเอง แอบไปนอนหลับสบาย ตื่นขึ้นมา อ้าว.เอ๊อ.พระหายไปไหน หมด เอ๊อ พวกท่าน มันอย่างไงกัน เนี้ย คิดจะหลบนอนเหร๊อ . ไป ๆ ออกไปปฏิบัติธรรม ฯ โอ้ โห๊ย. อาจารย์ เรา ปฏิบัติเอาจริง เอาจัง งัน เราสู่โว๊ย. กุศโลบาย มันใช้ได้แค่ ครั้งเดียว พอครั้ง ๒ ๓ เขาจับได้ ตายแล้ว ๆ ๆ ท่านอาจารย์ ขี้เกียจกว่าพวกเราอีก ฯ พรรษานั้น ผ่านไป แบบไม่เกิดคุณธรรมอะไรเลย ฯ แบบนี้ มันเผากันเอง ฯ
นี้ เป็นความหมาย ของคำ ๒ คำ ระหว่าง ญาณ กับ ฌาน ฯ แต่ทั้ง ๒ ก็เกิดจากสมาธิ ทั้งนั้น ฯ
เมื่อสมาธิเกิดแล้ว ญาณสมาบัติก็จะตามมา นั้นก็คือ
ธรรม ท. เว้นจากรูป เวทนา ฯลฯ ที่มีจิต เป็นสมุฏฐาน ล้วนแต่เป็นธรรมนำจิตออกไปจากความยึดมั่น ในรูป เวทนา ฯลฯ ,
เป็นเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม มีธรรมอื่น ๆ เป็นบริวาร เป็นธรรม ล้วนแต่ให้ ที่พึงพาอาศัย
เย็น.ชัด ๆ . ปัญญาอินทรีย์ นับเนื่องอยู่ในอาวุธ ๓ อย่างคือ (๑) สุตาวุธ อาวุธคือสุตะ หมายถึง พระพุทธพจน์คือพระไตรปิฏก ได้ชื่อว่า เป็นอาวุธ เพราะเหตุให้ผู้สดับ เล่าเรียนศึกษา ไม่ครั่นคร้าม สามารถข้ามพ้นทางกันดาร คือการเวียนว่าย ตาย เกิดได้ เหมือนทหารกล้า อาศัยอาวุธทั้ง ๕ ประการ แล้วไม่หวั่นกลัว สามารถข้ามทางกันดารใหญ่ได้ ฯ
(๒) ปวิเวกาวุธ อาวุธคือความสงัด หมายถึง ความสงัด ๓ คือ ความสงัดทางกาย -ทางจิต และความสงัดจากอุปธิ ๆ สิ่งที่นุงนังระคนด้วยกิเลส และเป็นสิ่งที่หอบไว้แต่ทุกข์ ความสงัด ได้ชื่อว่า เป็นอาวุธ เพราะเมื่อบุคคลยินดี ในความสงัดทั้ง ๓ นี้ ย่อมไม่หวาดกลัวภัยใด ๆ ฯ
(๓) ปัญญาวุธ หมายถึง ปัญญา ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ได้ชื่อว่า มีอาวุธ ครบ ทั้งมือ เท้า ปาก เพราะเมื่อบุคคล มีปัญญา ก็ไม่จำต้องกลัวภัยใด ๆ ฯ
ข้อ ๖๕๙ มหาปัญญากถา ว่าด้วยชนิดของปัญญา
น.๕๐๕ ชนิดของปัญญา ถ้าเป็นอนุปัสสนาปัญญา หมายถึงการใช้ ปัญญาพิจารณา หยั่งตรองดู สังขารธรรม จนทราบแน่ชัด ๗ ประการคือ ๑ (อนิจจานุปัสสนา) การพิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง ฯ
ลาว .ซัด ๆ ..ถ้าหมั่นเจริญภาวนามาก ๆ ย่อมยังชวนปัญญา ปัญญาที่ฉับไว หมายถึงปัญญา ที่แล่นไป ในวิสัยของตนเอง จากความรู้ดังเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้เกิดขึ้น เช่น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง ก็มีปัญญาฉุกคิดขึ้นว่า “สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา ม๊าน.บ่.แมน ของข่อย .. ฯ
๒ ทุกขานุปัสสนา ใช้ปัญญาหยั่งตรองดูสังขารจนแน่ชัดว่า เป็นทุกข์ ฯ
ถ้าหมั่นเจริญภาวนา ย่อมยัง(นิพเพธิกปัญญา) ปัญญาทำลายกิเลส ให้เกิดขึ้น หมายถึง ปัญญา ที่มีกำลัง เพราะอาศัยอินทรีย์ธรรม คือสมาธิ จึงสามารถ เจาะแทงกิเลส คือ ความปรารถนา แห่งจิตได้ ฯ
๓ อนัตตานุปัสสนา รู้แน่ชัดว่า เป็นอนัตตา ย่อมยัง(มหาปัญญา) ปัญญาที่ถึงมหัตตภาพ ให้เกิดขึ้น เพราะบรรลุถึง ความเจริญ ด้วยการเห็นสุญญตา คือ ความว่างจากอัตตา ฯ
๔ นิพพิทานุปัสสนา การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย, ย่อมยัง(ติกขปัญญา) ปัญญาคมกล้าหรือเฉียบแหลม ให้เกิดขึ้น หมายถึง ปัญญา ที่อาศัย ความชำนาญ ในอนุปัสสนา ทั้ง ๓ ซึ่งมีสมรรถภาพแหลมคม ต่อความเบื่อหน่าย ในสังขารธรรมทั้งปวง ให้เกิดขึ้น ฯ
๕ วิราคานุปัสสนา –ด้วยความปราศจากความกำหนัด, ที่บุคคลเจริญภาวนาแล้ว ย่อมยัง (วิปุลปัญญา) ปัญญา กว้างขวางให้เกิดขึ้น หมายถึง ปัญญา ที่อาศัยความชำนาญ ในอนุปัสสนา ทั้ง ๓ เช่นเดียวกับติกขปัญญา ซึ่งสมรรถภาพไพบูลย์ มากล้น ต่อการคลายความกำหนัด จากสังขารธรรมทั้งปวง ให้เกิดขึ้น ฯ
๖ นิโรธานุปัสสนา พิจารณาเห็นความดับ, ที่บุคคลเจริญภาวนาแล้ว ย่อมยัง(คัมภีรปัญญา) ปัญญาลึกซึ้ง ให้เกิดขึ้น หมายถึง ปัญญาที่อาศัยความชำนาญ ในอนุปัสสนาทั้ง ๓ ซึ่งมีสมรรถภาพ ลึกซึ้งด้วยการเห็นความดับแห่งสังขารธรรม ทั้งปวง ให้เกิดขึ้น ฯ
๗ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา พิจารณาเห็นความสละทิ้ง ย่อมยัง(อสามันตปัญญา) ปัญญาไม่ได้อยู่ใกล้ ๆ ให้เกิดขึ้น หมายถึง ปัญญาที่อาศัยความชำนาญ แต่มีสมรรถภาพห่างไกลจากปัญญาทั้ง ๖ สลัดท้องสังขารธรรมทั้งปวสง ได้ เพราะบรรลุถึงที่สุดแห่งความรู้ ให้เกิดขึ้น ฯ
ปัญญาทั้ง ๗ ประการเหล่านี้ ที่บุคคลเจริญภาวนาแล้ว ย่อมยัง(ความเป็นบัณฑิต) ความเป็นผู้ประกอบด้วยสังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ และโคตรภูญาณ ให้เกิดขึ้น กล่าวคือ (วุฏฐานคามินีวิปัสสนา)วิปัสสนาที่ให้ถึงวุฏฐานคือมรรค ที่เจริญจนแก่กล้าถึงจุดสุดยอดแห่งปัญญา จัดเป็นปัญญา ลำดับที่ ๘ ให้เกิดขึ้น ฯ
แล้วปัญญา ทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ บุคคลเจริญภาวนาแล้ว ย่อมยัง (ปุถุปัญญา) ปัญญามาก ให้เกิดขึ้น ปัญญาแตกต่างออกไป ที่แยกออกไปต่างหาก จากโลกิยปัญญา เพราะบรรลุถึงความเป็นโลกุตตระ ด้วยการกระทำพระนิพพาน ให้เป็นอารมณ์ ในลำดับจากโคตรภูญาณ หรือได้แก่ ปัญญาในมรรคและผล ฯ
ไม่ใช้มาก อีมะโหลโต๊เต๊ ฟังมากสุตะ ฟังไป ฟังมา บอกว่า ความสุขที่คุณดื่มได้ จั๊งซี๊ มันต้องถอน ส่วนที่ถือว่า เป็นเหตุก่อให้เกิดกายตนเอง คนอื่นไม่เกี่ยว อายุ ๖๐ กว่าปี เต้นท่ารูดกางเกงกลางถนน หน้าวัดคลองโพธิ์ หยั่งกะพยามาร ยั่วสวาท ไม่ให้เจ้าชายสิทธัตถะบวช ฯ
ปัญญา ทั้ง ๙ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญภาวนาแล้ว ย่อมยัง(หาสปัญญา) ปัญญาร่าเริง แจ่มใส่ ให้เกิดขึ้น หมายถึง ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ๕ ประการคือ พิจารณาเห็นมรรคผล เห็นกิเลสที่ละได้แล้ว กิเลสที่ยังเหลือ และพิจารณาพระนิพพาน ซึ่งขณะที่พิจารณานั้น ย่อมทำให้(จิตตสันดาน) ความสืบเนื่องแห่งจิต เป็นไปโดยอาการร่าเริง เบิกบาน บริบูรณ์ ฯ
น.๓๒๔ มีคาถาประพันธ์ไว้ตอนท้ายว่า บทธรรม ที่พระตถาคต ไม่ทรงเห็น ไม่มีในโลกนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า พระสมันตจักษุ ฯ
เนื้อความธรรมะทั้งหมดนี้ ได้นำมาจากพระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ ข้อ ๔๓๖อินทรีย์ ๕ ฯ เล่ม ๑๑ ข้อ ๖๕๙ มหาปัญญากถา ว่าด้วยชนิดของปัญญา และจากธรรมบท ที่มีเนื้อความสอดคล้องกัน
สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาค้นคว้าก็สามารถศึกษาได้จากพระไตรปิฏกทั้งฉบับคอม ฯ และฉบับบันทึกเป็นอักษร ฯ
ขอกราบขอบพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระวินัยสาทร เจ้าอาวาสวัดพระแทนศิลาอาสน์ที่ได้เอื้อเฟื้อ ถวายเวลา และอีกส่วนหนึ่ง ก็เป็นเวลาที่ทางสถานีวิทยุ อสมท. ก็ได้จัดเวลาถวายให้ตามสมควร ฯ สำหรับรายการธรรมะในวันนี้ ได้หมดเวลาลงแล้ว ฯ ขอให้ท่านผู้ฟังจงโชคดี ฯ